ผู้ป่วยติดเตียง หรือผู้สูงอายุติดเตียงที่แพทย์ให้กลับมานอนพักฟื้นที่บ้านควรได้รับการดูแลที่ดี ผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยติดเตียง บางรายช่วยเหลือตัวเองได้เล็กน้อย แต่บางรายช่วยเหลือตัวเองไม่ได้เลยต้องพึ่งพาผู้ดูแลตลอด 24 ชั่วโมง เช่น ผู้ป่วยอัมพฤกษ์ อัมพาต สิ่งที่ตามมาจากภาวะนอนติดเตียง มีหลายอย่าง เช่น ปัญหาสุขภาพจิต ติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจหรือระบบทางเดินปัสสาวะ รวมไปถึงแผลกดทับ การขาดสารอาหารอย่างรุนแรง เป็นต้น ผู้ดูแลต้องดูแลอย่างใกล้ชิดและมีความเข้าใจที่ถูกต้อง
6 สิ่งต้องต้องรู้ เมื่อมี ผู้สูงอายุติดเตียงอยู่ที่บ้าน จะมีอะไรบ้าง
1. ปัญหาแผลกดทับ
ผู้ป่วยติดเตียงหรือคนแก่ติดเตียงต้องนอนนิ่งๆ เป็นระยะเวลานาน ดังนั้น จึงเสี่ยงเกิดแผลกดทับได้ง่าย โดยเฉพาะที่บริเวณปุ่มกระดูกต่างๆ เนื่องจากขาดเลือดมาหล่อเลี้ยงที่ผิวหนังทำให้เซลล์ตายและกลายเป็นแผลในที่สุดเสี่ยงต่อการติดเชื้อด้วยหากไม่ได้รับการดูแลรักษาแผลกดทับอย่างถูกต้อง แผลกดทับจุดที่พบบ่อย ได้แก่ สะโพก ท้ายทอย ศอก สะบัก กระดูกก้นกบและส้นเท้า ผู้ดูแลต้องระมัดระวังให้ดีจำเป็นต้องพลิกตัวผู้ป่วยในทุกๆ 1-2 ชั่วโมง เพื่อป้องกันการเกิดแผลกดทับและหากแผลกดทับติดเชื้ออาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้
2. ปัญหาสุขภาพจิต
คนแก่ป่วยติดเตียงนอกจากมีโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อนได้ง่ายแล้ว ยังอาจเกิดปัญหาสุขภาพจิตตามมาด้วย ผู้ดูแลจำเป็นต้องเอาใจใส่ผู้ป่วยติดเตียงให้ดีเป็นพิเศษ ทั้งด้านร่างกายและจิตใจ ผู้ป่วยติดเตียงมักรู้สึกเบื่อหน่ายและมีความทุกข์เกิดขึ้นรู้สึกว่าตัวเองด้อยค่าต้องพึ่งพาผู้ดูแลตลอดเวลา อุปกรณ์ทางการแพทย์บางอย่าง ช่วยให้ผู้ป่วยดูแลตัวเองได้เบื้องต้นไม่จำเป็นต้องพึ่งพาผู้ดูแลตลอดเวลา เช่น เตียงผู้ป่วยไฟฟ้า รถเข็นผู้ป่วยไฟฟ้า เก้าอี้นั่งถ่าย เป็นต้น
3. สภาพแวดล้อมเป็นสิ่งสำคัญ
เมื่อผู้ป่วยติดเตียงต้องกลับมาพักฟื้นที่บ้าน สภาพแวดล้อมเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ผู้ดูแลควรจัดห้องนอนให้เหมาะสม มีอากาศถ่ายเทสะดวกและอย่าลืมทำความสะอาดห้องนอน รวมถึงเครื่องนอนต่างๆ เป็นประจำอย่างสม่ำเสมอเพื่อสุขอนามัยที่ดี ลดการติดเชื้อ การจัดสภาพแวดล้อมที่ดีทำให้ผู้ป่วยติดเตียงรู้สึกผ่อนคลายมากขึ้นซึ่งมีผลดีอย่างมากโดยเฉพาะทางด้านจิตใจ
4. ปัญหาเรื่องการขับถ่าย
อีกหนึ่งปัญหาที่ผู้ดูแลต้องรู้คือเรื่องการขับถ่าย ผู้สูงอายุนอนติดเตียงหรือผู้ป่วยติดเตียงมีโอกาสเกิดปัญหาท้องผูกได้ง่าย เนื่องจากขยับตัวน้อย รวมถึงทานอาหารที่มีกากใยน้อย นอกจากนั้นผู้ป่วยติดเตียงยังอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการรับประทานยาแก้ท้องผูกได้อีกด้วย สิ่งสำคัญต้องให้ดื่มน้ำบ่อยๆ และพยายามขยับตัวเปลี่ยนท่า หากซื้อยาให้ผู้ป่วยทานจะต้องสอบถามกับเภสัชกรผู้เชี่ยวชาญ หรือปรึกษาแพทย์ก่อนทุกครั้งเพื่อป้องกันผลข้างเคียงที่เกิดขึ้น
5. สุขอนามัยที่ดีเป็นสิ่งสำคัญ
การดูแลด้านสุขอนามัยเของผู้ป่วยติดเตียงเป็นสิ่งสำคัญ ไม่ใช่แค่การทำความสะอาดห้องนอนหรือการจัดสภาพแวดล้อมที่ดีแต่ต้องให้ความสำคัญเรื่องความสะอาดของร่างกายผู้ป่วยด้วย เช่น การอาบน้ำ สระผม ชำระล้างร่างกายของผู้ป่วยให้สะอาด มีสุขอนามัยที่ดีอยู่เสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องความสะอาดภายในช่องปากเป็นสิ่งสำคัญ หากดูแลไม่ดีผู้ป่วยเสี่ยงต่อการติดเชื้อ และอาจมีปัญหากลิ่นที่ไม่พึงประสงค์
6. ตั้งเป้าหมายในการดูแล
การดูแลผู้สูงอายุติดเตียงหรือผู้ป่วยติดเตียง ส่วนมากจะต้องดูแลในระยะยาว สิ่งที่ผู้ดูแลต้องทำอย่างแรกคือการทำความเข้าใจก่อนว่า ผู้ป่วยติดเตียงหรือผู้สูงอายุติดเตียงมีโอกาสหายไหม สามารถฟื้นฟูได้มากน้อยแค่ไหน และตั้งเป้าหมายตามความเป็นจริงดูแลบนพื้นฐานของความเป็นไปได้ อย่างเช่น อุบัติเหตุ กระดูกหัก วัยหนุ่มสาว วัยกลางคนภาวะเหล่านี้สามารถฟื้นฟูและคาดหวังให้ผลการรักษาออกมาดีที่สุดได้ แต่สำหรับผู้สูงอายุที่ป่วยติดเตียงด้วยโรคเรื้อรัง การฟื้นฟูนั้นทำได้ยากเนื่องจากร่างกายเสื่อมโทรมไปตามกาลเวลา ดังนั้น ควรตั้งเป้าหมายไปที่เน้นประคับประคองไม่ให้ทรุดตัวเร็วเกินไปและทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีที่สุด
เมื่อต้องดูแลผู้ป่วยติดเตียง การดูแลผู้สูงอายุที่ป่วยติดเตียงผู้ดูแลต้องศึกษาและทำความเข้าใจ มีหลายสิ่งที่ต้องรู้และปฏิบัติให้ถูกต้องเพื่อให้ผู้ป่วยติดเตียงมีทั้งสุขภาพร่างกายและสุขภาพจิตใจที่ดี ทั้งหมดนี้หวังว่าจะเป็นแนวทางให้กับผู้ดูแลที่ต้องดูแลผู้ป่วยติดเตียงหรือผู้สูงอายุนอนป่วยติดเตียงที่บ้านได้ สำหรับผู้ดูแลที่ไม่ค่อยมีเวลา ควรหาอุปกรณ์ทางการแพทย์เป็นเครื่องทุ่นแรง เช่น เตียงนอนไฟฟ้า รถเข็นไฟฟ้า ฯลฯ อุปกรณ์ทางการแพทย์เหล่านี้ทำให้ผู้ป่วยติดเตียงช่วยเหลือตัวเองได้เบื้องต้น ไม่จำเป็นต้องพึ่งพาผู้ดูแลตลอด 24 ชั่วโมง และบางครั้งยังช่วยให้การดูแลผู้ป่วยติดเตียงสะดวกสบายมากขึ้นด้วย
เตียงผู้ป่วย Modernform Healthcare
สามารถคลิกดูเตียงผู้ป่วย เตียงผู้สูงอายุ Modernform Healthcare แบบต่าง ๆ ได้ที่นี่ พร้อมให้คำแนะนำเกี่ยวกับการเลือกเตียงผู้ป่วยในแบบที่เหมาะสมที่สุดแบบฟรี ๆ ไม่มีค่าใช้จ่ายเพิมเติมผ่านทาง Line หรือ โทรติดต่อ