การดูแลผู้ป่วยติดเตียงคนเดียว ต้องทำอย่างไรให้ถูกต้องและปลอดภัย สิ่งที่ต้องเฝ้าระวัง มีอะไรบ้าง

ดูแลผู้ป่วยติดเตียงคนเดียว มีวิธีการทำอย่างไร

การดูแลผู้ป่วยติดเตียงคนเดียว

ปัจจุบันหลายคนต้องดูแลผู้ป่วยติดเตียงคนเดียวที่บ้าน ด้วยหน้าที่หรือความรับผิดชอบอันยิ่งใหญ่นี้เป็นสิ่งที่ทำให้ใครหลายๆ คนเกิดความกังวลใจ เพราะไม่รู้จะดูแลผู้ป่วยติดเตียงอย่างไรให้ถูกวิธีและมีประสิทธิภาพ ผู้ป่วยติดเตียงบางรายสามารถช่วยเหลือตนเองได้เล็กน้อยหรือบางรายไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้เลย แม้แต่การทานอาหารเองหรือการขับถ่ายเองต้องมีผู้ดูแลอยู่ตลอดเวลา หากคุณต้องดูแลผู้ป่วยติดเตียงที่บ้านคนเดียวไม่ต้องกังวลเลนเพราะเรามี 5 วิธีดูแลผู้ป่วยติดเตียงคนเดียวที่บ้านมาแนะนำ

แนะนำ 5 วิธีดูแลผู้ป่วยติดเตียงคนเดียวที่บ้าน อย่างถูกต้องและปลอดภัย

1.ให้ความสำคัญกับการเลือกอาหาร

ผู้ป่วยติดเตียงส่วนใหญ่มักมีปัญหาเกี่ยวกับการเคี้ยวและปัญหาการกลืน มีภาวะกลืนยาก ผู้ดูแลต้องเลือกอาหารผู้ป่วยติดเตียง ที่เป็นอาหารอ่อน อาหารที่เคี้ยวง่าย หรืออาหารย่อยง่าย เช่น ข้าวต้ม โจ๊ก ปลานึ่ง ซุปเห็ด เป็นต้น การรับประทานอาหารควรจัดท่าของผู้ป่วยให้ลุกขึ้นนั่งโดยใช้หมอนหนุนหลัง หากผู้ป่วยนอนบนเตียงที่สามารถปรับระดับได้ให้ปรับพนักพิงหลังขึ้นจนได้องศาที่เหมาะสม จากนั้นค่อยๆ ป้อนอาหารให้ผู้ป่วยเคี้ยวอย่างละเอียดก่อนกลืน หากมีอาการสำลักต้องหยุดป้อนอาหารทันที

2.ทำความสะอาดร่างกายอยู่เสมอ

ผู้ดูแลควรทำความสะอาดร่างกายของผู้ป่วยอยู่เสมอ เพื่อให้ผู้ป่วยมีสุขอนามัยที่ดียังช่วยลดการสะสมของเชื้อโรคหรือแบคทีเรียรวมถึงการกำจัดกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ โดยเฉพาะการอาบ น้ำเช็ดตัว การสระผมหรือการทำความสะอาดเมื่อผู้ป่วยขับถ่ายเสร็จเรียบร้อย ในกรณีที่ผู้ป่วยช่วยเหลือตนเองได้บ้าง อาจจัดหาเก้าอี้นั่งถ่ายไว้ข้างเตียงเพื่อให้ผู้ป่วยขับถ่ายบนเก้าอี้ได้สะดวกหรือจัดเตรียมอุปกรณ์สระผมผู้ป่วยบนเตียงไว้ให้พร้อม  ในขณะเดียวกันเมื่อผู้ป่วยรับประทานอาหารเสร็จควรให้ผู้ป่วยทำความสะอาดช่องปากหรือบ้วนปากเป็นประจำหลังทานอาหารทุกมื้อเลือกน้ำยาบ้วนปากที่ไม่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนผสม

ทำความสะอาดร่างกายอยู่เสมอ

3.ดูแลผู้ป่วยเจาะคอให้ถูกต้อง

ผู้ป่วยติดเตียงบางรายต้องเจาะคอ ผู้ป่วยเจาะคอมีโอกาสที่ท่อจะหลุดออกได้ง่ายต้องกลับมานอนพักรักษาตัวที่บ้าน ผู้ดูแลควรจัดท่านอนของผู้ป่วยให้หายใจสะดวกมากขึ้นและหมั่นทำความสะอาดท่อก่อนนำมาใช้งานอีกครั้งใช้น้ำต้มสุกทำความสะอาดเป็นประจำในทุกๆ 1-2 วัน หากผู้ป่วยมีอาการผิดปกติ เช่น ท่อหลอดลมหลุด หายใจลำบาก หอบเหนื่อย มีอาการบวมแดงหรือมีหนองในบริเวณที่เจาะ รวมถึงมีเลือดออกจากท่อหลอดลมต้องรีบพาผู้ป่วยไปพบแพทย์ทันที

4.พลิกตัวผู้ป่วยในทุกๆ 2 ชั่วโมง

ผู้ป่วยติดเตียงมีโอกาสเกิดปัญหาแผลกดทับสูงมากเนื่องจากผู้ป่วยต้องนอนติดเตียงเป็นระยะเวลานาน เช่น ผู้ป่วยอัมพฤกษ์ อัมพาต ดังนั้น ผู้ดูแลควรพลิกตัวผู้ป่วยในทุกๆ 2 ชั่วโมง เพื่อป้องกันการเกิดแผลกดทับ เช่น การพลิกตะแคงตัวผู้ป่วยไปทางซ้าย-ขวา การจัดท่าให้ผู้ป่วยนอนหงาย การเลือกที่นอนผู้ป่วยก็เป็นสิ่งสำคัญ ควรเลือกที่นอนช่วยป้องกันแผลกดทับเป็นที่นอนที่ไม่แข็งเกินไปหรือไม่นุ่มจนเกินไป

5.อย่าละเลยการดูแลสุขภาพจิต

นอกจากสุขภาพร่างกายและสุขอนามัยที่ต้องดูแลแล้ว ผู้ดูแลไม่ควรละเลยการดูแลสุขภาพจิตของผู้ป่วย ผู้ป่วยติดเตียงอาจเกิดความเครียดสะสม เกิดความรู้สึกเบื่อหน่ายหรือท้อแท้ ผู้ดูแลควรหากิจกรรมต่างๆ ทำร่วมกับผู้ป่วยเพื่อให้เกิดความผ่อนคลาย เช่น การอ่านหนังสือธรรมะให้ฟัง การชวนพูดคุยถึงเรื่องที่สร้างสรรค์ การให้กำลังใจ หรือการบีบนวดให้ผู้ป่วยผ่อนคลายเป็นต้น

ปัญหาที่ควรเฝ้าระวัง เมื่อต้องดูแลผู้ป่วยติดเตียงคนเดียว

ปัญหาที่ควรเฝ้าระวัง เมื่อต้องดูแลผู้ป่วยติดเตียงคนเดียว

การดูแลผู้ป่วยติดเตียงไม่ใช่เรื่องง่ายเลย ผู้ดูแลต้องใส่ใจเป็นพิเศษ ปัญหาอะไรบ้างที่ผู้ดูแลต้องเฝ้าระวังเมื่อต้องดูแลผู้ป่วยติดเตียงคนเดียว โดยหลักๆ แล้วควรเฝ้าระวังปัญหาต่างๆ ดังนี้

1.แผลกดทับ

แผลกดทับเป็นปัญหาที่มีโอกาสเกิดบ่อยที่สุดสำหรับผู้ป่วยติดเตียง เนื่องจากผู้ป่วยต้องนอนท่าเดิมเป็นระยะเวลานาน แผลกดทับมักเกิดขึ้นที่บริเวณ ก้นกบ กระดูกสันหลัง หัวไหล่ ข้อศอกและน่อง หากผู้ป่วยมีแผลกดทับที่รุนแรงและเกิดการติดเชื้อมีโอกาสเสียชีวิตได้เลยทีเดียว

2.สุขอนามัยและความสะอาด

อีกหนึ่งปัญหาที่ต้องเฝ้าระวังคือเรื่องของสุขอนามัยและความสะอาด เนื่องจากผู้ป่วยติดเตียงไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้จึงต้องเป็นหน้าที่ของผู้ดูแล โดยผู้ดูแลต้องใส่ใจทั้งความสะอาดของร่างกายผู้ป่วยและสภาพแวดล้อมภายในห้องนอน

3.การรับประทานอาหาร

ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นบ่อยคือการรับประทานอาหาร ผู้ป่วยติดเตียงส่วนใหญ่มีภาวะกลืนลำบากหรือมีปัญหาเกี่ยวกับการเคี้ยวดังนั้น อาจทำให้มีอาการสำลักได้และเศษอาหารเข้าไปติดในหลอดลม มีความเสี่ยงถึงขั้นเสียชีวิต ควรเลือกอาหารอ่อนอาหารที่ย่อยง่ายหรือให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารตามที่แพทย์แนะนำ

4.ความเครียด

ความเครียดเป็นปัญหาอย่างหนึ่งที่ต้องเฝ้าระวัง เนื่องจากผู้ป่วยติดเตียงมักมีความเครียดสะสม รู้สึกเบื่อหน่าย ท้อแท้ สิ้นหวังหมดกำลังใจรู้สึกเป็นภาระของผู้ดูแล โดยผู้ดูแลคนให้กำลังใจผู้ป่วยใช้คำพูดที่ดี พยายามพาผู้ป่วยทำกิจกรรมที่ผ่อนคลายช่วยลดความเครียดและความวิตกกังวลลงได้

ทำไมเตียงผู้ป่วยถึงมีความสำคัญ ในการดูแลผู้ป่วยติดเตียงคนเดียว

ทำไมเตียงผู้ป่วยถึงมีความสำคัญ ในการดูแลผู้ป่วยติดเตียงคนเดียว

หากคุณต้องดูแลผู้ป่วยติดเพียงคนเดียว อุปกรณ์สำคัญที่ขาดไม่ได้เลย คือ เตียงผู้ป่วย โดยควรเลือกเตียงผู้ป่วยที่สามารถปรับระดับได้ หรือเตียงผู้ป่วยไฟฟ้าที่สามารถปรับเปลี่ยนท่าทางต่างๆ ได้ด้วยรีโมทคอนโทรล ปรับระดับได้มีประโยชน์มากๆ เช่น ปรับพนักพิงหลังให้ผู้ป่วยอยู่ในองศาที่เหมาะสมในการนั่งทานอาหาร ป้องกันการสำลักสามารถปรับเปลี่ยนท่าทางต่างๆ ได้มากมาย ช่วยให้ผู้ป่วยมีความผ่อนคลายมากขึ้นช่วยลดแผลกดทับจากการนอนท่าเดิมนานๆ ด้วย ที่สำคัญยังอำนวยความสะดวกต่อผู้ที่ดูแลไม่ว่าจะเป็นการการทำความสะอาดร่างกายผู้ป่วย แม้แต่การทำความสะอาดเตียงเองก็ตาม

การดูแลผู้ป่วยติดเตียงคนเดียว ทำอย่างไรให้ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ ไม่ยากเลยใช่ไหม เราหวังว่าแนวทางเหล่านี้จะมีประโยชน์ต่อผู้ที่ต้องดูแลผู้ป่วยติดเตียงคนเดียว เราขอเป็นกำลังใจให้กับผู้ป่วยรวมถึงผู้ที่ดูแลด้วย บางครั้งคุณอาจรู้สึกท้อแท้หรือรู้สึกเหนื่อยที่ต้องดูแลผู้ป่วยติดเตียง นอกจากการให้กำลังใจผู้ป่วยแล้วคุณต้องให้กำลังใจตัวเองด้วย

และเมื่อต้องดูแลผู้ป่วยติดเตียงคนเดียว การมีอุปกรณ์ทางการแพทย์อย่างเตียงผู้ป่วยไฟฟ้า ก็จะช่วยให้คุณดูแลผู้ป่วยง่ายขึ้นและสร้างความผ่อนคลายให้กับผู้ป่วยได้ สนใจเตียงผู้ป่วยไฟฟ้าคุณภาพดี ได้มาตรฐาน ของแท้ 100% ในราคาคุ้มค่า พร้อมการรับประกันสินค้า สั่งซื้อได้เลยที่ Modernform Health & Care

เตียงผู้ป่วย Modernform Healthcare

สามารถคลิกดูเตียงผู้ป่วย เตียงผู้สูงอายุ Modernform Healthcare แบบต่าง ๆ ได้ที่นี่ พร้อมให้คำแนะนำเกี่ยวกับการเลือกเตียงผู้ป่วยในแบบที่เหมาะสมที่สุดแบบฟรี ๆ ไม่มีค่าใช้จ่ายเพิมเติมผ่านทาง Line หรือ โทรติดต่อ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และโฆษณา

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลวส่วนบบุคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ Cookies ที่เราใช้งานได้แก่ Google Analytics และ Facebook Pixel

Save