การที่ดูแลผู้ป่วยติดเตียงคนเดียวเครียด หรือรู้สึกเหนื่อย ถือเป็นสิ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้ เพราะในการดูแลผู้ป่วยติดเตียง มักจะมีภาระการดูแลที่เยอะกว่าปกติ ต้องคอยดูแลผู้ป่วยในทั้งเรื่องสุขอนามัย อาหาร ความสะดวกสบาย และยังต้องคอยให้การสนับสนุนทั้งทางร่างกายและจิตใจ เมื่อทำซ้ำเป็นประจำ และต้องดูแลผู้ป่วยติดเตียงคนเดียวเป็นระยะเวลานาน ผู้ดูแลก็จะรู้สึกเบื่อหน่าย รู้สึกอ่อนล้าทางร่างกาย และยังทำให้เกิดความเครียดสะสม จนอาจทำให้ผู้ดูแลมีปัญหาทางด้านจิตใจขึ้นได้
ดูแลผู้ป่วยติดเตียงคนเดียวเครียด มักเกิดจากสาเหตุอะไร
สาเหตุหลักๆ ที่ทำให้ผู้ดูแลเกิดความเครียด และรู้สึกเหนื่อยกับการดูแลคนป่วยติดเตียง ก็คือภาระการดูแลที่หนัก โดยหลักๆ แล้วผู้ดูแลจะต้องดูแลด้านสุขภาพ ช่วยเหลือกิจวัตรประจำวัน เฝ้าระวังสภาพสุขภาพของผู้ป่วยตลอดเวลา เมื่อทำซ้ำบ่อยๆ ผู้ดูแลก็อาจจะรู้สึกเหนื่อย และมีความเครียดสะสม ยิ่งผู้ป่วยมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนอย่างแผลกดทับ ยิ่งจะทำให้ผู้ดูแลเครียดหนักกว่าเดิม เพราะแผลกดทับจะทำให้การดูแลรักษายากขึ้น ทำให้สุขภาพร่างกายของผู้ป่วยแย่ลง และยังทำให้ภาระของผู้ดูแลเพิ่มมากกว่าเดิมอีกหลายเท่าตัว
คลิกอ่านเพิ่มเติม : การดูแลสภาพจิตใจผู้ป่วยติดเตียง สำคัญอย่างไร วิธีให้กำลังใจและรับมือกับอารมณ์ผู้ป่วยติดเตียง มีอะไรบ้าง
แนะนำวิธีลดความเครียดของผู้ดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยติดเตียง
เมื่อผู้ดูแลเกิดความเครียดสะสมจากการดูแลผู้ป่วยติดเตียง ให้ลดความเครียดด้วยวิธีผ่อนคลายจากการดูแลผู้ป่วย โดยวิธีลดความเครียด มี 10 วิธีดังนี้
- ขอความช่วยเหลือจากคนในครอบครัว เพื่อน หรือคนใกล้ชิด หรือบางครั้งให้ระบายเรื่องอึดอัดใจกับใครสักคนที่เข้าใจ เพราะการระบายความอึดอัดใจจะช่วยบรรเทาความเครียดได้ในระดับหนึ่ง
- ให้ความสำคัญกับการดูแลตัวเอง รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ ถ้าเป็นไปได้ให้หาวันหยุดสักวัน ไปท่องเที่ยวหรือผ่อนคลายกับธรรมชาติ
- จ้างคนมาดูแลผู้ป่วย วิธีนี้นอกจากจะช่วยประหยัดแรงในการดูแลผู้ป่วยแล้ว ยังทำให้ผู้ดูแลไม่รู้สึกเครียด หรือรู้สึกเบื่อหน่ายกับการดูแลผู้ป่วยอีกด้วย
- ช่วยเหลือผู้ป่วยตามความเหมาะสม ไม่ควรตั้งเป้าหมายการช่วยเหลือให้สูงเกินไป และไม่ควรกดดันตัวเองมากเกินไป นอกจากนี้ผู้ดูแลควรให้กำลังใจตัวเองบ่อยๆ ว่าดูแลผู้ป่วยได้อย่างเต็มที่ มีประโยชน์ต่อผู้ป่วยมากที่สุดแล้ว
- ดูแลผู้ป่วยสลับกับการทำกิจกรรมที่ชอบ เช่น ดูหนัง ฟังเพลง อ่านหนังสือ หรืออาจจะใช้เวลาว่างตอนที่ผู้ป่วยกำลังนอนหลับพักผ่อน ไปพบเพื่อนฝูง หรือพูดคุยกับคนในครอบครัว เพื่อผ่อนคลายความเครียด
- ใช้เทคนิคการจัดการความเครียด เช่น ฝึกหายใจลึกๆ นั่งสมาธิ เล่นโยคะ หรือการทำกิจกรรมที่ช่วยทำให้ผ่อนคลาย และช่วยลดความเครียด
- นอนหลับพักผ่อนอย่างน้อย 8-10 ชั่วโมง เพราะการนอนหลับพักผ่อนที่เพียงพอ จะช่วยลดระดับฮอร์โมนคอร์ติซอล ซึ่งเป็นฮอร์โมนความเครียดในร่างกายให้ลดลงได้
- หาวิธีที่ทำให้ตัวเองหัวเราะ เช่น ดูตลก ฟังเรื่องขำขัน หรือดูซีรีย์ ดูละครแนวคอมเมดี้ วิธีนี้นอกจากจะช่วยบรรเทาความเครียดได้แล้ว และยังทำให้ผู้ดูแลอารมณ์ดีอยู่ตลอดเวลาอีกด้วย
- หากผู้ป่วยดื้อรั้นเอาแต่ใจ ให้หลีกเลี่ยงการทะเลาะ พร้อมกับใช้สติในการแก้ปัญหา จากนั้นให้อธิบายการดูแลต่างๆ ให้ผู้ป่วยเข้าใจ เพื่อให้ผู้ป่วยไม่เกิดความเครียด
- เลิกคิดเรื่องที่ทำให้เกิดความโกรธ ตัดเรื่องที่ทำให้เกิดความเครียดออกไปจากสมอง พร้อมกับหาวิธีบำบัดความเครียด เช่น การฟังนักจิตวิทยา ฟังดนตรีธรรมชาติบำบัด หรือดูสารคดีที่ให้แง่คิดดีๆ ในการใช้ชีวิต เป็นต้น
ไม่อยากเครียดและเหนื่อยกับการดูแลคนป่วยติดเตียง ควรเตรียมตัวอย่างไร
การดูแลคนป่วยติดเตียงถือเป็นภาระทางกายและทางใจของผู้ดูแล อาจจะทำให้ผู้ดูแลเกิดความเครียด และเกิดความเหนื่อยล้าขึ้นมา แต่ถ้าหากว่าผู้ดูแลไม่อยากเหนื่อย และไม่อยากเครียดมาก ผู้ดูแลควรเตรียมตัวให้พร้อมใน 3 เรื่อง ดังนี้
1.เตรียมความรู้ให้พร้อม
ผู้ดูแลควรเรียนรู้วิธีการดูแลผู้ป่วยติดเตียง และควรจะเรียนรู้การใช้เครื่องมือ หรืออุปกรณ์ดูแลผู้ป่วยติดเตียงต่างๆ จากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยตรง และที่สำคัญควรศึกษาเกี่ยวกับโรค หรือภาวะที่ผู้ป่วยประสบอยู่ เช่น โรคหัวใจ, โรคหลอดเลือด, หลอดลมอักเสบ เพื่อให้ดูแลผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสม และเพื่อให้ผู้ดูแลสามารถตรวจสอบอาการของผู้ป่วยได้อย่างถูกต้อง
2.เตรียมตัวด้านสภาพร่างกาย
การเตรียมร่างกายให้พร้อมก่อนดูแลผู้ป่วยติดเตียงเป็นสิ่งสำคัญ เพราะผู้ดูแลจะต้องใช้พลังงานอย่างมากในการดูแลผู้ป่วย ดังนั้นผู้ดูแลควรเตรียมตัวด้านสภาพร่างกายให้พร้อม ด้วยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ครบ 5 หมู่ ควรออกกำลังกายเพื่อสร้างกล้ามเนื้อ นอกจากนี้ยังควรพักผ่อนให้เพียงพอ วางแผนการพักผ่อนให้ดี เพราะการพักผ่อนที่ดี และเพียงพอจะช่วยฟื้นฟูพลังงาน และยังช่วยลดความเมื่อยล้าที่เกิดจากการดูแลผู้ป่วยติดเตียงได้เป็นอย่างดี
3.การเตรียมตัวด้านจิตใจและอารมณ์
การเตรียมตัวด้านจิตใจและอารมณ์เป็นสิ่งสำคัญที่ควรเตรียมพร้อมก่อนการดูแลผู้ป่วย เพราะผู้ป่วยติดเตียงส่วนใหญ่มีปัญหาทางร่างกาย และจิตใจ ซึ่งอาจจะทำให้ผู้ป่วยมีความเศร้า หรือมีความเครียดมากกว่าคนทั่วไป ดังนั้นผู้ดูแลควรเตรียมตัวด้านจิตใจและอารมณ์ให้พร้อม ควรมีการฝึกทำสมาธิ ฝึกควบคุมอารมณ์ เพราะสิ่งเหล่านี้จะช่วยลดความเครียดให้กับผู้ดูแลได้เป็นอย่างดี
ถึงแม้ว่าการ ดูแลผู้ป่วยติดเตียงคนเดียวเครียด จะมีโอกาสเกิดขึ้นได้บ่อย และมีโอกาสเกิดขึ้นได้กับทุกคน แต่คนที่เกิดความเครียด ก็สามารถแก้ไขและลดความเครียดได้ ด้วยการใช้เทคนิคการจัดการความเครียด การทำกิจกรรมที่ชอบ ตลอดจนการนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ แต่ถ้าไม่อยากเครียดและไม่อยากเหนื่อยกับการดูแลผู้ป่วยจนเกินไป ผู้ดูแลควรเตรียมตัวให้พร้อมก่อนการดูแลผู้ป่วย
ด้วยการศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วย รวมไปถึงการเลือกซื้อเตียงผู้ป่วยไฟฟ้าจาก Modernform Health & Care มาใช้ดูแลผู้ป่วย เพราะเตียงผู้ป่วยของเรา เป็นเตียงที่มีคุณสมบัติหลากหลาย ช่วยอำนวยความสะดวกสบายให้กับผู้ป่วยติดเตียง และยังช่วยลดความเครียด ลดภาระการดูแลให้กับผู้ดูแลได้เป็นอย่างดี
เตียงผู้ป่วย Modernform Healthcare
สามารถคลิกดูเตียงผู้ป่วย เตียงผู้สูงอายุ Modernform Healthcare แบบต่าง ๆ ได้ที่นี่ พร้อมให้คำแนะนำเกี่ยวกับการเลือกเตียงผู้ป่วยในแบบที่เหมาะสมที่สุดแบบฟรี ๆ ไม่มีค่าใช้จ่ายเพิมเติมผ่านทาง Line หรือ โทรติดต่อ