แผลกดทับ คืออะไร ? อันตรายไหม มีสาเหตุมาจากอะไร วิธีรักษาและดูแลแผลกดทับต้องทำอย่างไรบ้าง

แผลกดทับ คืออะไร เกิดจากอะไร มีวิธีรักษาอย่างไร

แผลกดทับ คืออะไร ?

แผลกดทับ (Pressure Sore) คือ แผลที่เกิดจากการกดทับของน้ำหนักตัวต่อผิวหนังเป็นเวลานาน มักเกิดขึ้นกับผู้ป่วยติดเตียงที่ต้องนอนหรือนั่งนานๆ โดยไม่มีการเคลื่อนไหว หรือไม่ได้เปลี่ยนท่าทางอย่างสม่ำเสมอ ส่วนใหญ่แผลกดทับมักเกิดขึ้นบนบริเวณต่อมเนื้อเยื่อ และกระดูกที่อยู่ใต้ผิวหนัง เช่น สะโพก ส้นเท้า หลัง และกระดูกก้นกบ โดยสามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย แต่หลักๆ มักจะเกิดบ่อยกับผู้สูงอายุ หรือผู้ป่วยติดเตียงที่เคลื่อนไหวร่างกายได้ลำบาก หรืออาจจะเคลื่อนไหวร่างกายไม่ได้เลย

แผลกดทับ เกิดจากสาเหตุอะไร ?

แผลกดทับเป็นหนึ่งในภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยติดเตียง ที่เกิดขึ้นจากการนอนติดเตียงเป็นเวลานาน เกิดเป็นแผลที่ทำให้ลำบากในการรักษาและดูแลผู้ป่วย สำหรับสาเหตุของแผลกดทับ มีดังนี้

1.แรงกดทับ

แรงกดทับเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดแผลกดทับ โดยแผลกดทับจะเกิดขึ้นเมื่อมีแรงกดทับบริเวณผิวหนังกับพื้นผิวอื่นๆ เช่น ที่นอน หรือเบาะนั่งเป็นระยะเวลานาน เกิดขึ้นได้บ่อยกับผู้ที่มีภาวะอ้วน หรือน้ำหนักเกิน รวมไปถึงผู้ป่วยโรคเบาหวาน

2.การเสียดสี

การเสียดสีที่บริเวณผิวหนังของผู้ป่วย เป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เกิดแผลกดทับ เพราะการเสียดสีที่บริเวณผิวหนังของผู้ป่วย จะทำให้ผิวหนังของผู้ป่วยบอบบางลง เมื่อมีการเสียดสีมากขึ้นเรื่อยๆ ผิวหนังก็จะเริ่มเกิดเป็นแผล และเริ่มเกิดการอักเสบ

แผลกดทับเกิดจากการเสียดสี

3.แรงเฉือน

แรงเฉือน ส่วนใหญ่เกิดจากการไถลตัวของผู้ป่วย ในตอนที่มีการปรับระดับเตียงเพื่อเปลี่ยนท่านั่ง-ท่านอนให้กับผู้ป่วย หรืออาจเกิดจากการใช้เตียงที่ไม่ถูกต้อง ส่งผลให้ผิวหนังของผู้ป่วยถูกดึงรั้งไว้กับที่นอน จนทำให้เกิดเป็นแผลกดทับ

4.ความชื้น

ความชื้นถือเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดแผลกดทับ เพราะถ้าหากดูแลผู้ป่วยไม่ดี ปล่อยให้มีความชื้นบนที่นอน เตียงนอน หรือผ้าปูที่นอน จะส่งผลเสียต่อผิวหนังของผู้ป่วย โดยถ้าผิวหนังของผู้ป่วยสัมผัสกับความชื้นเป็นเวลานาน ผิวหนังของผู้ป่วยก็จะเกิดการเสื่อมสภาพ และทำให้เกิดเป็นแผลกดทับ

ปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อการเกิดแผลกดทับ

ปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อการเกิดแผลกดทับ

  • การนั่ง หรือนอนตลอดเวลา โดยไม่มีการเปลี่ยนท่าใดๆ
  • การมีน้ำหนักเกินไป รวมไปถึงการมีผิวหนังที่บอบบาง
  • โรคต่างๆ เช่น โรคเบาหวาน และโรคที่เกี่ยวกับเส้นเลือด
  • การเคลื่อนไหวที่ไม่เพียงพอ มักจะเกิดขึ้นบ่อยกับผู้ป่วยที่ต้องนอนพักรักษาตัวหลังการผ่าตัด
  • มีอาการเจ็บปวดบางส่วนของร่างกาย จนทำให้เกิดความลำบากในการเปลี่ยนท่าทาง
  • สภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม เช่น อากาศร้อนชื้น เพราะจะทำให้เกิดความชื้นบนผิวหนัง ซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับ

แผลกดทับมีกี่ระดับ ลักษณะเป็นอย่างไรบ้าง

แผลกดทับถูกแบ่งระดับตามความรุนแรงของอาการโดยแบ่งเป็น 4 ระดับ ดังนี้

  • ระดับที่ 1 เริ่มเกิดเป็นรอยแดงหรือรอยคล้ำบนผิวหนัง แต่ยังไม่มีการแยก หรือฉีกออกจากกัน
  • ระดับที่ 2 เริ่มมีการเกิดแผลบนผิวหนัง ผิวหนังจะเริ่มพอง แต่ยังไม่เกิดอาการบาดเจ็บไปถึงชั้นผิวหนังที่ลึกกว่านั้น
  • ระดับที่ 3 เกิดแผลขนาดใหญ่ลึกลงไปจนถึงชั้นไขมัน และชั้นผิวหนังรอบบริเวณแผลจะถูกทำลาย
  • ระดับที่ 4 เกิดแผลลึกไปจนถึงชั้นของกระดูกจนมองเห็นกระดูกได้ ในระดับนี้ผิวหนังจะถูกทำลายอย่างร้ายแรง และอาจทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้
แผลกดทับ อันตรายไหม

แผลกดทับ อันตรายไหม ?

แผลกดทับเป็นอันตรายต่อผู้ป่วย โดยแผลกดทับจะทำให้เกิดการติดเชื้อ และเป็นทางเข้าของเชื้อโรค พร้อมกันนั้นยังทำให้มีเลือดออกบริเวณแผล ถ้าแผลมีขนาดใหญ่ ก็จะทำให้ผู้ป่วยเสียเลือดมาก นอกจากนี้แผลกดทับยังทำให้เกิดอาการบวม ทำให้เกิดผู้ป่วยได้รับความเจ็บปวด และที่ร้ายแรงที่สุดคืออาจทำให้ผู้ป่วยหยุดหายใจ ในกรณีที่แผลอยู่ใกล้กับช่องท้อง หรือปอด ซึ่งอาการในลักษณะนี้ผู้ป่วยจะต้องได้รับการช่วยเหลือโดยด่วนทันที

การตรวจวินิจฉัยผู้ป่วยแผลกดทับ

การตรวจวินิจฉัยผู้ป่วยแผลกดทับจะต้องทำอย่างรอบคอบ ซึ่งโดยปกติแล้วการตรวจวินิจฉัยผู้ป่วย จะเริ่มจากการตรวจสอบประวัติการเกิดแผล วันเวลา วิธีการทำแผล และอาการของผู้ป่วยหลังการเกิดแผล จากนั้นตรวจสอบสภาพแผล โดยตรวจสอบขนาด ลักษณะ สี ระดับความรุนแรง และการแพร่กระจายของแผล รวมถึงการตรวจสอบว่าแผลมีการติดเชื้อหรือไม่ พร้อมกับตรวจอุณหภูมิร่างกาย ความดันโลหิต ชีพจร และระบบภูมิคุ้มกัน แล้วจึงจะส่งตัวอย่างแผลไปตรวจวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ

การรักษาแผลกดทับ

การรักษาแผลกดทับนั้นจะต้องรักษาตามระดับความรุนแรงของแผล โดยวิธีการรักษามีดังนี้

  • เปลี่ยนท่านอนหรือท่านั่งให้กับผู้ป่วยบ่อยๆ อาจจะมีการใช้เบาะรองนั่งหรือที่นอนแบบพิเศษที่กระจายแรงกดทับ เพื่อหลีกเลี่ยงแผลกดทับจากการนั่ง หรือนอนเป็นระยะเวลานาน
  • ควรทำความสะอาดแผลด้วยน้ำยาทำความสะอาด จากนั้นล้างแผลให้สะอาด แล้วใช้ผ้าปิดแผลหรือผ้าพันแผลปิดแผลเอาไว้ เพื่อป้องกันแผลจากการเสียดสี และเพื่อรักษาความชุ่มชื้นของผิวเอาไว้
  • หากแผลกดทับติดเชื้อ ต้องให้ยาปฏิชีวนะ หรือให้ยาแก้ปวดกับผู้ป่วย เพื่อบรรเทาอาการปวด
  • ตรวจและประเมินผิวหนังเป็นประจำ และควรให้โภชนาการที่ดีกับผู้ป่วย เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับผิว และเพื่อดูแลสุขภาพผิว

คลิกอ่านเพิ่มเติม : 5 วิธีการดูแลผู้ป่วยติดเตียง ต้องทำอย่างไร อุปกรณ์จำเป็นและสิ่งที่ต้องระวัง มีอะไรบ้าง ?

อุปกรณ์และเครื่องมือสำหรับดูแลแผลกดทับ มีอะไรบ้าง

อุปกรณ์และเครื่องมือสำหรับดูแลแผลกดทับ มีอะไรบ้าง ?

1.ที่นอนป้องกันแผลกดทับ

ที่นอนป้องกันแผลกดทับ เป็นที่นอนที่ถูกออกแบบมาเพื่อช่วยลดแรงกดทับให้กับผู้ป่วยติดเตียง และเพื่อลดระดับความรุนแรงของแผล นอกจากนี้ที่นอนแผลกดทับยังมีความยืดหยุ่น และถ่ายเทความชื้นได้ดี จึงทำให้สามารถป้องกันการติดเชื้อ และป้องกันการปนเปื้อนได้

2.เตียงผู้ป่วยปรับไฟฟ้า

เตียงผู้ป่วยไฟฟ้า เป็นเตียงที่สามารถปรับเปลี่ยนระดับความสูง ความเอียงของหัวเตียง และปลายเตียงได้ด้วยการควบคุมโดยใช้ไฟฟ้า ทำให้ผู้ดูแลสามารถปรับเปลี่ยนท่าทางของผู้ป่วยได้อย่างสะดวก โดยที่ผู้ป่วยไม่ได้รับความเจ็บปวดที่บริเวณแผล

คลิกอ่านเพิ่มเติม : แนะนำ 5 เตียงผู้ป่วยไฟฟ้า ยี่ห้อไหนดี ? ที่ตอบโจทย์การใช้งานดูแลผู้สูงอายุ และผู้ป่วยติดเตียง

3.ชุดทำแผล

ชุดทำแผลสำหรับการดูแลแผลกดทับ ส่วนใหญ่ประกอบด้วยอุปกรณ์ต่างๆ ที่ช่วยในการดูแลแผล และป้องกันการติดเชื้อ เช่น ผ้าก๊อตที่ลดการติดเชื้อ, สารฆ่าเชื้ออย่าง แอลกอฮอล์ ไอโอดีน, ผ้าพันแผล, ที่ปิดแผล เป็นต้น

4.อุปกรณ์พลิกตัวผู้ป่วย

อุปกรณ์พลิกตัวผู้ป่วยติดเตียง เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดแผลกดทับ โดยจะช่วยให้ผู้ดูแลสามารถเปลี่ยนตำแหน่งต่างๆ ของผู้ป่วยได้อย่างสะดวก โดยไม่ต้องย้ายตัวผู้ป่วยออกจากเตียง นอกจากนี้ยังช่วยรักษาระดับความรุนแรงของแผล และป้องกันการเกิดแผลกดทับจากการนอนติดเตียงเป็นเวลานานๆ ได้

5.หมอนรองป้องกันแผลกดทับ

หมอนรองป้องกันแผลกดทับ เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยลดแรงกดทับให้กับผู้ป่วยที่ต้องนั่ง หรือนอนเป็นเวลานาน เช่น ผู้ป่วยติดเตียง หรือผู้ป่วยที่มีแผลกดทับบริเวณสะโพก หรือช่วงขา โดยหมอนรองป้องกันแผลกดทับจะช่วยลดการกดทับที่เกิดขึ้นบนผิวหนัง และช่วยลดความเจ็บปวดในผู้ป่วยที่มีแผลกดทับได้

แผลกดทับเป็นสิ่งที่อันตรายกับผู้ป่วย ทำให้ผู้ป่วยได้รับความทรมาน และยังทำให้ผู้ป่วยเกิดภาวะอาการแทรกซ้อนต่างๆ จนทำให้ยากต่อการรักษาและการฟื้นฟูร่างกาย ดังนั้นการให้ความสำคัญกับการดูแลและป้องกันแผลกดทับจึงเป็นสิ่งสำคัญ โดยผู้ดูแลควรรักษาสุขอนามัยในการดูแลผู้ป่วย ทำความสะอาดแผลกดทับอย่างสม่ำเสมอ และควรให้โภชนาการที่ดีกับผู้ป่วย

นอกจากนี้ยังควรใช้อุปกรณ์ลดแรงกดทับต่างๆ อย่างเช่น เตียงผู้ป่วยจาก Modernform Health & Care เตียงผู้ป่วยคุณภาพสูง ได้มาตรฐาน มีประโยชน์ในการใช้งานที่หลากหลาย ช่วยกระจายแรงกดและลดแรงกดทับได้ ทำให้การดูแลรักษาผู้ป่วยติดเตียงมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมเตียงผู้ป่วย Modernform Health & Care : คลิกที่นี่

เตียงผู้ป่วย Modernform Healthcare

สามารถคลิกดูเตียงผู้ป่วย เตียงผู้สูงอายุ Modernform Healthcare แบบต่าง ๆ ได้ที่นี่ พร้อมให้คำแนะนำเกี่ยวกับการเลือกเตียงผู้ป่วยในแบบที่เหมาะสมที่สุดแบบฟรี ๆ ไม่มีค่าใช้จ่ายเพิมเติมผ่านทาง Line หรือ โทรติดต่อ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และโฆษณา

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลวส่วนบบุคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ Cookies ที่เราใช้งานได้แก่ Google Analytics และ Facebook Pixel

Save