10 ท่าการทำกายภาพบําบัดผู้ป่วยติดเตียง ท่าออกกำลังกายสำหรับผู้ป่วยติดเตียงง่ายๆ ทำเองที่บ้านได้

กายภาพบําบัดผู้ป่วยติดเตียงผู้ป่วยติดเตียง อาจมีปัญหาด้านสุขภาพอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยทั่วไปผู้ป่วยติดเตียงมักเป็นผู้สูงอายุ หรือผู้ป่วยเรื้อรัง ผู้ป่วยติดเตียงแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มสีเขียวอยู่ในระยะเริ่มต้นถึงปานกลางอาการไม่หนักมาก ดูแลตัวเองได้ ผู้ป่วยติดเตียงกลุ่มสีเหลือง มีปัญหากล้ามเนื้ออ่อนแรง เป็นอัมพฤกษ์อัมพาต ผู้ป่วยในกลุ่มนี้เสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับ รวมถึงการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะและทางเดินอาหาร ผู้ป่วยติดเชื้อกลุ่มสีแดง ผู้ป่วยไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้เลย บางรายไม่รู้สึกตัวมีความบกพร่องทางร่างกายอย่างรุนแรง การทำกายภาพบำบัดผู้ป่วยติดเตียงช่วยฟื้นฟูอาการของผู้ป่วยได้ช่วยส่งเสริมการทำงานของกล้ามเนื้อและข้อต่อ อีกทั้งยังช่วยให้ผู้ป่วยผ่อนคลายมากขึ้น ป้องกันปัญหาแผลกดทับได้ดี

ข้อดีสำหรับการทำกายภาพบําบัดผู้ป่วยติดเตียง

  • ช่วยลดภาวะแทรกซ้อนจากการนอนป่วยติดเตียง
  • ช่วยเพิ่มพละกำลังของกล้ามเนื้อป้องกันการหดของเส้นเอ็น
  • ช่วยป้องกันการเกิดแผลกดทับ
  • ช่วยให้ผู้ป่วยติดเตียงรู้สึกผ่อนคลายมากขึ้น

การทํากายภาพบําบัดผู้ป่วยติดเตียง สำคัญอย่างไร

การทำกายภาพบำบัดผู้ป่วยติดเตียงมีข้อดีหลายอย่างและจากข้อดีในข้างต้นทุ กคนคงเล็งเห็นถึงความสำคัญของการทำกายภาพบำบัดให้ผู้ป่วยติดเตียงแล้วใช่หรือไม่ นอกจากช่วยลดภาวะแทรกซ้อนช่วยเพิ่มพละกำลังของกล้ามเนื้อและป้องกันการหดของเส้นเอ็น ป้องกันการเกิดแผลกดทับหรือทำให้ผู้ป่วยรู้สึกผ่อนคลายมากขึ้นแล้ว ยังช่วยเสริมประสิทธิภาพการทำงานของระบบหัวใจและปอดอีกด้วย

10 ท่าวิธีกายภาพบําบัดผู้ป่วยติดเตียง จะมีท่าไหนบ้าง มาดูกันเลย!!

1.ท่าผ่อนคลายฝ่ามือ

วิธีกายภาพบําบัดผู้ป่วยติดเตียงท่าผ่อนคลายฝ่ามือ ใช้มือจับนิ้วทั้ง 4 นิ้วของผู้ป่วยติดเตียง ได้แก่ นิ้วชี้ นิ้วกลาง นิ้วนาง นิ้วก้อย จากนั้นเหยียดให้ตรงและใช้มืออีกข้างกลางนิ้วโป้งของผู้ป่วยออก นับ 1-20 ท่านี้ช่วยเพิ่มกำลังของกล้ามเนื้อฝ่ามือและทำให้ผู้ป่วยผ่อนคลายมากขึ้น  

2.ท่ากางนิ้ว

กางนิ้วมือของผู้ป่วยแต่ละนิ้วออกนับ 1-20 ทำให้ครบทุกนิ้วและทำทั้ง 2 ข้าง ทั้งนิ้วมือข้างซ้ายและนิ้วมือข้างขวา ถ้านี้ไม่ยากเลยแต่เน้นความสม่ำเสมอช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นของมือ ป้องกันการหดเกร็งขอกล้ามเนื้อและข้อต่อ

3.ท่าวาดแขนออกด้านข้าง

ท่าวาดแขนออกด้านข้าง ผู้ดูแลใช้มือจับที่ข้อศอกและข้อมือของผู้ป่วย หลังจากนั้นหมุนไปเหนือศีรษะค้างไว้ 20 วินาทีและหมุนแขนลงถ้านี้ช่วยบริหารหัวไหล่  

4.ท่าพับข้อศอก

ท่าพับข้อศอก ท่ากายภาพบําบัดผู้ป่วยติดเตียงท่านี้เป็นการบริหารข้อศอก ผู้ดูแลใช้มือจับพี่ข้อมือของผู้ป่วยติดเตียงและข้อศอกเหมือนเดิม จากนั้นพับเข้าหาตัวผู้ป่วยค้างไว้นับ 1-20 และคลายแขนออก    

5.ท่าบริหารสะโพกและขา

ท่าบริหารสะโพกและขา  ผู้ดูแลจับใต้ข้อพับและบริเวณส้นเท้าของผู้ป่วย หลังจากนั้นให้กางขาผู้ป่วยออก ประมาณ 45 องศา เสร็จแล้วค่อยๆ หุบขาเข้าให้ทำซ้ำเป็นจังหวะ 

6.ท่าบริหารข้อเท้า

มาต่อกันที่การทำกายภาพบำบัดในท่าบริหารข้อเท้าของผู้ป่วยติดเตียง ผู้ดูแลจับหน้าแข้งของผู้ป่วยอีกมือหนึ่งจับที่ฝ่าเท้าของผู้ป่วยไว้ จากนั้นให้ดันฝ่าเท้าของผู้ป่วยกระดกขึ้นเข้าหาตัวผู้ป่วยและให้เอามือดันฝ่าเท้าผู้ป่วยลงเหมือนการถีบปลายเท้า 

7.ท่าหมุนลำตัว

ให้ผู้ป่วยติดเตียงนอนหงายชันเข่าทั้งสองข้าง จากนั้นค่อยๆ หมุนเข่าทั้งสองข้างพร้อมกันไปแตะเตียง ทางด้านซ้ายและหมุนไปแตะเตียงทางด้านขวา ทำซ้ำประมาณ 20 รอบ หากผู้ป่วยไม่สามารถชันขาข้างที่อ่อนแรงได้ ผู้ดูแลควรช่วยประคองเข่าและจับเท้าติดกับเตียงไว้

8. ท่างอเข่าและสะโพก

ให้ผู้ป่วยติดเตียงนอนหงาย งอเข่าและสะโพกเข้าชิดอก จากนั้นค่อยๆ เหยียดออก พยายามให้หัวเข่าตั้งตรงไว้ หากผู้ป่วยไม่สามารถควบคุมการเคลื่อนไหวได้ผู้ดูแลควรระคองเท้าและเข้าไว้ ท่านี้ทำซ้ำ 20 รอบ   

9.ท่าเอื้อมมือ

ท่าเอื้อมมือให้ผู้ป่วยติดเตียงนอนหงายและยกแขนขึ้นตั้งฉากกับพื้น จากนั้นเอื้อมมือให้สูงให้ทำซ้ำทั้งด้านซ้ายและด้านขวา ข้างละประมาณ 10 รอบ ท่านี้ช่วยยืดหยุ่นกล้ามเนื้อและเพิ่มความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อ

10. ท่ากำมือและแบมือ

ปิดท้ายกันที่ท่ากำมือและแบมือ  ท่าง่ายๆ ผู้ดูแลสามารถทำกายภาพบำบัดให้กับผู้ป่วยติดเตียงที่บ้านได้ ให้ผู้ป่วยนอนหงายกำมือและแบมือ หากผู้ป่วยไม่สามารถควบคุมการเคลื่อนไหวได้ผู้ดูแลต้องช่วยประคองที่ข้อมือและนิ้วมือโดยทำซ้ำ 20 รอบทั้งมือด้านซ้ายและด้านขวา สำหรับการป้องกันแผลกดทับผู้ดูแลควรพลิกตัวผู้ป่วยในทุกๆ 1-2 ชั่วโมง เพื่อลดการเกิดกดทับหรือให้ผู้ป่วยนอนบนที่นอนป้องกันแผลกดทับเป็นวิธีป้องกันที่ดี การทำกายภาพบำบัดให้กับผู้ป่วยติดเตียง นอกจากเป็นการฟื้นฟูสภาพร่างกายแล้วยังช่วยฟื้นฟูสภาพจิตใจของผู้ป่วยอีกด้วย อย่างไรก็ตาม การทํากายภาพบําบัดผู้ป่วยติดเตียงหากผู้ป่วยนอนบนเตียงที่ปรับระดับได้ ก็จะยิ่งอำนวยความสะดวกให้กับผู้ดูแลช่วยให้ทำกายภาพบำบัดผู้ป่วยติดเตียงง่ายขึ้น

เตียงผู้ป่วย Modernform Healthcare

สามารถคลิกดูเตียงผู้ป่วย เตียงผู้สูงอายุ Modernform Healthcare แบบต่าง ๆ ได้ที่นี่ พร้อมให้คำแนะนำเกี่ยวกับการเลือกเตียงผู้ป่วยในแบบที่เหมาะสมที่สุดแบบฟรี ๆ ไม่มีค่าใช้จ่ายเพิมเติมผ่านทาง Line หรือ โทรติดต่อ

รีวิวเตียงนอนผู้สูงอายุไฟฟ้า Volker Bed รุ่น S962-2 Vis-a-Vis
รีวิวเตียงผู้ป่วยสูงอายุไฟฟ้า Volker Bed รุ่น 5384 Ultra Low
รีวิวเตียงผู้สูงอายุแบบไฟฟ้า Volker Bed รุ่น 5384 Ultra Low
Certificate เตียงไฟฟ้าผู้สูงอายุ Volker Bed รุ่น 5384 Ultra Low

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และโฆษณา

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลวส่วนบบุคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ Cookies ที่เราใช้งานได้แก่ Google Analytics และ Facebook Pixel

Save