การกายภาพผู้ป่วยติดเตียง
การกายภาพผู้ป่วยติดเตียง ช่วยฟื้นฟูอาการของผู้ป่วยในเรื่องต่างๆ เช่น กล้ามเนื้อ ข้อต่อหรือทำให้ผู้ป่วยเกิดความผ่อนคลาย โดยเฉพาะผู้ป่วยติดเตียง หรือผู้สูงอายุที่มีปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพความเสื่อมถอยของร่างกาย รวมไปถึงผู้ที่มีปัญหาโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ เข้ามาเบียดเบียนจำเป็นต้องได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม ผู้ป่วยติดเตียงอาจมีภาวะแทรกซ้อนขึ้น เช่น เกิดการยึดติดข้อต่อ กล้ามเนื้อเสื่อมถอย แผลกดทับ ประสิทธิภาพการทำงานของปอดและหัวใจลดลง ความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันต่างๆ ลดลง เป็นต้น ดังนั้น การกายภาพผู้ป่วยติดเตียงจึงเป็นสิ่งสำคัญ
ประโยชน์ของการกายภาพผู้ป่วยติดเตียง
การทำกายภาพบำบัดผู้ป่วยติดเตียงรวมถึงผู้สูงอายุ ช่วยเพิ่มพละกำลังของกล้ามเนื้อทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรงมากขึ้นช่วยป้องกันการหดของเส้นเอ็นกล้ามเนื้อและป้องกันการยึดติดของข้อต่อ ช่วยลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการนอนติดเตียงได้ การทำกายภาพผู้ป่วยติดเตียงนั้นต้องทำเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอและต้องทำให้ถูกวิธี โดยให้ทำอย่างน้อย 2-3 ครั้งต่อทั้งนี้การออกกำลังกายหรือการกายภาพผู้ป่วยติดเตียงนั้นจะต้องได้รับการประเมินหรือได้รับคำแนะนำจากนักกายภาพบำบัด หรือผู้เชี่ยวชาญในการดูแลผู้ป่วยเพื่อลดความเสี่ยงจากอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้
คลิกอ่านเพิ่มเติม : 5 วิธีการดูแลผู้ป่วยติดเตียง ต้องทำอย่างไร อุปกรณ์จำเป็นและสิ่งที่ต้องระวัง มีอะไรบ้าง ?
แนะนำ 10 ท่ากายภาพผู้ป่วยติดเตียง
1.ผ่อนคลายฝ่ามือ
ท่านี้ช่วยเพิ่มกำลังกล้ามเนื้อมือและทำให้ผู้ป่วยผ่อนคลายโดยใช้มือจับนิ้วทั้ง 4 นิ้วของผู้ป่วยได้แก่ นิ้วชี้ นิ้วกลาง นิ้วนางและนิ้วก้อยในสภาวะเหยียดตรงและใช้มืออีกข้างกางนิ้วโป้งของผู้ป่วยออก 20 วินาที
2.กางนิ้ว
ท่าต่อมาคือการกางนิ้วเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นของมือ โดยกางนิ้วของผู้ป่วยแต่ละนิ้วออกนับ 1-10 สามารถทำได้ทั้ง 2 ข้างท่านี้ไม่ยากแต่เน้นความสม่ำเสมอ
3.พับและเหยียดมือ
ท่าพับและเหยียบมือช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นของนิ้วเช่นกัน โดยให้งอข้อนิ้วของผู้ป่วยแต่ละข้อพับลง จากนั้นจับนิ้วทั้งหมดเหยียดขึ้นค้างไว้ประมาณ 10 วินาทีทำต่อเนื่องการ 3 ครั้ง
4.ท่าบริหารข้อต่อ
ท่าบริหารข้อต่อ ช่วยป้องกันข้อติด ช่วยกระตุ้นประสาทการรับรู้ของผู้ป่วยได้ด้วย โดยใช้มือขวาจับที่ข้อมือและมือซ้ายจับที่ข้อศอกจากนั้นยกแขนผู้ป่วยขึ้นไว้เหนือศีรษะค้างไว้ประมาณ 20 วินาทีก่อนเอาลงอย่างไรก็ตาม ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการเจ็บไม่ควรฝืนเพราะจะทำให้ผู้ป่วยบาดเจ็บเพิ่มมากขึ้น
5.วาดแขนออกด้านข้าง
ถ้าวาดแขนออกด้านข้างช่วยเรื่องการบริหารหัวไหล่ โดยใช้มือจับที่ข้อศอกและข้อมือของผู้ป่วยแต่แทนที่จะยกขึ้นเหนือศีรษะให้เปลี่ยนเป็นหมุนไปที่เหนือศีรษะแทนค้างไว้นับ 1-20 และหมุนแขนลง
6.พับข้อศอก
ท่าพับข้อศอกช่วยเรื่องการบริหารข้อศอกโดยใช้มือจับที่บริเวณข้อมือและข้อศอกของผู้ป่วยเหมือนเดิมแต่ในครั้งนี้ให้พับข้อศอกเข้าออกนับ 1-20
7.ท่าแบมือและคว่ำมือ
ท่าแบมือและคว่ำมือช่วยบริหารข้อมือของผู้ป่วยติดเตียงโดยให้จับมือของผู้ป่วยแบออกและคว่ำมือทำแบบนี้ทั้งหมด 10 ครั้ง
8.ท่าบริหารขา
ในท่านี้จะบริหารตรงบริเวณสะโพกก่อนโดยผู้ดูแลจับที่ใต้ข้อพับและบริเวณส้นเท้าของผู้ป่วย จากนั้นกางขาผู้ป่วยออกประมาณ 45 องศาแล้วค่อยๆ หุบขาเข้าไปทำซ้ำเป็นจังหวะ
9.ท่าบริหารข้อสะโพกและข้อเข่า
ผู้ดูแลจับบริเวณต้นขาด้านหน้าและจับที่บริเวณส้นเท้า จากนั้นงอข้อสะโพกและข้อเข่าเข้าหาตัวผู้ป่วยและค่อยๆ เหยียดออกในตอนที่เหยียดขาออกต้องระมัดระวังเรื่องเข่าสะบัด
10. ท่าบริหารข้อเท้า
ท่าสุดท้ายเป็นการบริหารข้อเท้า ผู้ดูแลจับหน้าแข้งของผู้ป่วยโดยใช้อีกมือหนึ่งจับที่ฝ่าเท้าผู้ป่วย จากนั้นดันฝ่าเท้าผู้ป่วยให้กระดกขึ้นเข้าหาตัวผู้ป่วย และเอามือดันฝ่าเท้าผู้ป่วยลงให้เหมือนการเก็บปลายเท้า
อุปกรณ์ที่ช่วยในการทํากายภาพบําบัดผู้ป่วยติดเตียง
1.เตียงผู้ป่วย
เตียงผู้ป่วยเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยให้การทำกายภาพบำบัดเป็นเรื่องง่ายขึ้นเตียงผู้ป่วยมี 2 ประเภทด้วยการได้แก่เตียงไฟฟ้าและเตียงแบบมือหมุนโดยเฉพาะเตียงผู้ป่วยไฟฟ้าที่สามารถปรับท่าทางต่างๆ ได้ง่ายด้วยรีโมทคอนโทรลสามารถปรับความสูงต่ำของเตียงได้ปรับพนักพิงและปรับได้หลากหลายท่าทางตามคุณสมบัติในแต่ละรุ่น
2.ราวเตียง
ราวเตียงเป็นอุปกรณ์เสริมที่มากับเตียงผู้ป่วย โดยเตียงผู้ป่วยบางรุ่นมีราวสไลด์กันตกให้อย่างดีเพื่อเพิ่มความปลอดภัย ราวเตียงสำคัญมากเนื่องจากการทำกายภาพบำบัดอาจต้องพลิกตัวผู้ป่วยบ่อยๆ เพื่อการป้องกันแผลกดทับ เตียงผู้ป่วยที่มาพร้อมราวเตียงกันตกทำให้ผู้ป่วยและผู้ดูแลมั่นใจมากขึ้นช่วยลดอันตรายที่เกิดจากการพลัดตกเตียง
3.ผ้าสไลด์
ผ้าสไลด์ถูกออกแบบมาให้มีความเรียบเนียนและลื่นช่วยให้การเลื่อนตัวผู้ป่วยไปด้านข้างหรือด้านหน้าทำได้ง่าย ผ้าสไลด์เหมาะสำหรับผู้ป่วยติดเตียงที่ต้องพลิกตัวบ่อยๆ
4.ผ้าพลิกตัว
สำหรับผ้าพลิกตัวใช้ในการหมุนตัวหรือพลิกตัวของผู้ป่วยที่นอนติดเตียงช่วยลดการเคลื่อนไหวของผู้ป่วยทำให้ผู้ดูแลสามารถหมุนผู้ป่วยได้ง่ายโดยไม่จำเป็นต้องออกแรงมาก
การกายภาพผู้ป่วยติดเตียง ถือเป็นสิ่งสำคัญสามารถทำกายภาพผู้ป่วยได้ทั้งในโรงพยาบาลและที่บ้าน การทำกายภาพผู้ป่วยติดเตียงจะต้องทำให้ถูกต้องและเหมาะสม โดยได้รับคำแนะนำจากนักกายภาพบำบัดหรือผู้เชี่ยวชาญ ทั้งหมดนี้ก็คือแนวทางการทำกายภาพบำบัดหวังว่าจะเป็นแนวทางดีๆ ให้กับผู้ดูแลสามารถนำไปใช้กับผู้ป่วยติดเตียงที่บ้านได้นอกจากการกายภาพบำบัดจะสำคัญแล้ว อุปกรณ์ต่างๆ ในการทำกายภาพบำบัดก็สำคัญไม่แพ้กัน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเตียงผู้ป่วยที่จะช่วยให้การทำกายภาพบำบัดเป็นเรื่องง่ายขึ้นและถ้าคุณกำลังมองหาเตียงผู้ป่วยไฟฟ้า สามารถสั่งซื้อได้ที่ Modernform Health & Care ผู้จัดจำหน่ายเตียงผู้ป่วยไฟฟ้า สินค้าดีมีคุณภาพได้มาตรฐาน มาพร้อมฟังก์ชั่นการใช้งานที่ทันสมัย และที่สำคัญคือจำหน่ายในราคาที่คุ้มค่า มีการรับประกัน พร้อมบริการจัดส่งทั่วประเทศไทย
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมเตียงผู้ป่วย Modernform Health & Care : คลิกที่นี่
เตียงผู้ป่วย Modernform Healthcare
สามารถคลิกดูเตียงผู้ป่วย เตียงผู้สูงอายุ Modernform Healthcare แบบต่าง ๆ ได้ที่นี่ พร้อมให้คำแนะนำเกี่ยวกับการเลือกเตียงผู้ป่วยในแบบที่เหมาะสมที่สุดแบบฟรี ๆ ไม่มีค่าใช้จ่ายเพิมเติมผ่านทาง Line หรือ โทรติดต่อ