อุบัติเหตุอย่างการที่ ผู้ป่วยตกเตียง หรือผู้ป่วยพลัดตกเตียง เป็นอุบัติเหตุที่มีโอกาสที่เกิดขึ้นได้ โดยอาจเกิดขึ้นในสถานพยาบาล หรือที่ต่างๆ ที่มีการดูแลรักษาผู้ป่วย ซึ่งอุบัติเหตุเหล่านี้ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น เพราะอาจทำให้ผู้ป่วยเกิดการบาดเจ็บ เกิดบาดแผล ทำให้อวัยวะต่างๆเกิดการแตกหัก และยังอาจส่งผลเสียขั้นรุนแรงต่อตัวผู้ป่วย อาจทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตกะทันหัน ดังนั้นในการดูแลผู้ป่วยติดเตียงหรือผู้สูงอายุจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ ซึ่งผู้ดูแลควรจะระมัดระวังให้มากนั่นเอง
ผู้ป่วยตกเตียง เกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง ?
การที่ผู้ป่วยพลัดตกเตียงอาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น ความไม่ระมัดระวังของผู้ป่วย, การพลัดตกเตียงในขณะเคลื่อนย้ายตัวผู้ป่วยออกจากเตียง, การที่ผู้ป่วยลุกจากเตียง หรืออาจเกิดจากที่นอนที่แข็งหรือลื่นเกินไป จนทำให้ผู้ป่วยเกิดการลื่นไถลตกเตียง ไปจนถึงปัจจัยทางสุขภาพอื่นๆ ที่ทำให้ผู้ป่วยอยู่ในภาวะอ่อนแอ มีปัญหาทางสมอง หรือเสียความสมดุลในการทรงตัว โดยปัจจัยเหล่านี้จะทำให้ผู้ป่วยสูญเสียสมาธิในการเคลื่อนไหว ทำให้เกิดการพลัดตกเตียงในที่สุด
หากผู้ป่วยตกเตียง จะเป็นอันตรายอย่างไร
ผู้ป่วยที่เกิดการพลัดตกเตียง จะต้องเผชิญกับอันตรายหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นอาการบาดเจ็บจากการตกเตียง การเกิดแผลกดทับที่อาจหายช้า จนทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนทางเชื้อโรคต่างๆ ตามมา เช่น ติดเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อ นอกจากนี้ผู้ป่วยอาจมีปัญหากล้ามเนื้ออ่อนแรง จนไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ แย่ไปกว่านั้นคือผู้ป่วยอาจเกิดภาวะหลอดเลือดสมองแตก ซึ่งอาจทำให้ผู้ป่วยเป็นอัมพาต จนไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้อีกต่อไป
สิ่งที่ควรทำทันที เมื่อผู้ป่วยพลัดตกเตียง
เมื่อเกิดเหตุการณ์ผู้ป่วยพลัดตกเตียง ผู้ที่เห็นเหตุการณ์หรือผู้ที่ดูแลผู้ป่วย ควรมีสติและควรดำเนินการตามขั้นตอนการช่วยเหลือ ดังนี้
- เรียกแพทย์ พยาบาล หรือหน่วยงานฉุกเฉินให้เข้ามาช่วยเหลือ ห้ามเคลื่อนย้ายผู้ป่วยโดยเด็ดขาด หากผู้ป่วยเกิดการบาดเจ็บขั้นรุนแรง ให้เรียกรถพยาบาลมารับตัวผู้ป่วยไปทำการรักษาทันที
- ตรวจสอบชีพจร การหายใจ เพื่อดูว่าผู้ป่วยยังรู้สึกตัวหรือไม่ หากผู้ป่วยไม่รู้สึกตัวหรือหัวใจอยู่เต้น ให้ทำการปั๊มหัวใจ หรือให้แพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญมาทำการ CPR โดยทันที
- ตรวจสอบร่างกายของผู้ป่วย ตั้งแต่ แขน ขา ไปจนถึงข้อต่อต่างๆ เพื่อดูว่าเกิดการฟกช้ำ กระดูกหัก เกิดรอยถลอกหรือรอยบาดแผล หรือไม่ ในกรณีที่ไม่แน่ใจให้สอบถามผู้ป่วยว่ารู้สึกเจ็บ หรือรู้สึกผิดปกติที่ส่วนไหนหรือไม่
- หากผู้ป่วยบาดเจ็บเล็กน้อย ให้ตรวจดูสติของผู้ป่วย ดูว่าผู้ป่วยมีอาการสับสน หรืออ่อนแรงหรือไม่ จากนั้นให้สอบถามอาการของผู้ป่วย ว่าผู้ป่วยเจ็บปวดตรงไหน หากผู้ป่วยไม่ได้เป็นไรมากให้เรียกพยาบาลหรือทีมแพทย์มาช่วยพยุงผู้ป่วยขึ้นเตียง
- หากผู้ป่วยมีเลือดออก ให้ทำการปฐมพยาบาลเบื้องต้นด้วยการห้ามเลือด โดยสามารถทำได้ด้วยการใช้ผ้าสะอาดกดไปบริเวณบาดแผลของผู้ป่วยประมาณ 10-15 นาที
วิธีการป้องกันผู้ป่วยตกเตียง
หากไม่อยากให้ผู้ป่วยเกิดอุบัติเหตุพลัดตกเตียง ผู้ดูแลควรปฏิบัติตามขั้นตอน และวิธีการป้องกันผู้ป่วยตกเตียง ดังนี้
1.เลือกใช้เตียงที่มีราวกันตก
ราวเตียงที่มีการติดตั้งอยู่ข้างเตียง จะช่วยป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยตกออกจากเตียงในระหว่างการเคลื่อนย้าย หรือเปลี่ยนท่านอน นอกจากนี้ราวเตียงยังช่วยในการพยุงตัว ทำให้ผู้ป่วยลุกจากเตียงได้ง่าย ดังนั้นจึงควรเลือกใช้เตียงที่มีราวกันตกทั้งสองข้าง เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุเหล่านี้
2.เลือกเตียงผู้ป่วยที่ได้มาตรฐาน
ควรเลือกเตียงผู้ป่วยที่มีมาตรฐาน โดยมีความแข็งแรง ทนทาน มีความเสถียรที่สูง เพราะเตียงที่แข็งแรง ทนทาน จะช่วยป้องกันการพลัดตกเตียง นอกจากนี้เตียงที่ได้มาตรฐาน ยังทำให้แพทย์ผู้ดูแลสามารถติดตั้งเครื่องมือ หรืออุปกรณ์อื่นๆ เพื่อช่วยเคลื่อนย้ายตัวผู้ป่วยได้สะดวกขึ้น
3.เลือกใช้เตียงไฟฟ้าในการดูแลผู้ป่วย
การเลือกใช้เตียงผู้ป่วยไฟฟ้าในการดูแลผู้ป่วย เป็นหนึ่งในวิธีที่ป้องกันผู้ป่วยพลัดตกเตียงได้ เพราะเตียงผู้ป่วยไฟฟ้ามีคุณสมบัติในการป้องกันผู้ป่วยพลัดตกเตียง เช่น ระบบเซนเซอร์ ระบบเตือนเสียงและแจ้งเตือน เป็นต้น
4.เลือกขนาดของเตียงให้เหมาะกับผู้ป่วย
ก่อนจะเลือกขนาดเตียงผู้ป่วยให้เหมาะสม ให้พิจารณาจากสภาวะทางสุขภาพและความต้องการเฉพาะทางของผู้ป่วย เช่น ถ้าผู้ป่วยมีปัญหาในการเคลื่อนไหว หรือมีความยากลำบากในการเคลื่อนที่ อาจต้องพิจารณาเลือกใช้เตียงที่มีขนาดใหญ่ เพื่อให้ผู้ป่วยมีพื้นที่ในการนอน และเพื่อป้องกันผู้ป่วยและตกเตียง
5.ปรับความสูงและระดับของเตียงให้เหมาะสม
ระดับความสูงของเตียงที่เหมาะสม จะช่วยป้องกันผู้ป่วยพลัดตกเตียง ดังนั้นผู้ดูแลควรปรับระดับความสูงของเตียงให้เหมาะสม โดยระดับความสูงของเตียงที่เหมาะสม คือระดับเอวของผู้ดูแล เพราะความสูงในระดับนี้จะช่วยให้ผู้ป่วยสามารถเข้า-ออกจากเตียงได้อย่างสะดวกสบาย
เพิ่มความปลอดภัย และลดอุบัติเหตุผู้ป่วยตกเตียง ด้วยเตียงผู้ป่วยปรับระดับไฟฟ้า
เตียงปรับระดับไฟฟ้า Volker Bed รุ่น 5384 เป็นเตียงผู้ป่วยและเตียงผู้สูงอายุที่มีความปลอดภัยในระดับสูง มีฟังก์ชันต่างๆ ที่ช่วยป้องกันผู้ป่วยพลัดตกเตียง มาพร้อมกับคุณสมบัติในการปรับระดับ สามารถปรับระดับเตียงให้เป็นท่านั่งได้ถึง 70 องศา ปรับส่วนขาได้ถึง 45 องศา นอกจากนี้ยังมาพร้อมกับราวกั้นข้างเตียงที่แข็งแรง สามารถปรับขึ้นลงได้ตามต้องการ ซึ่งราวกั้นเตียงก็ถือเป็นเกราะป้องกันผู้ป่วยจากการกลิ้ง หรือตกจากเตียงโดยไม่ตั้งใจ ทำให้ผู้ป่วยได้รับความปลอดภัยในระหว่างที่อยู่บนเตียง
การป้องกันไม่ให้ ผู้ป่วยตกเตียง จะต้องใช้ความร่วมมือระหว่างแพทย์ พยาบาล ตัวผู้ป่วย ผู้ดูแล และจะต้องมีการดูแลเอาใจใส่ที่ดีตลอดเวลา ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องมีการปรึกษาหารือ และหาวิธีป้องกันผู้ป่วยตกเตียง ซึ่งวิธีป้องกันผู้ป่วยตกเตียงก็มีหลายวิธี เช่น การเลือกใช้เตียงที่มีราวกันตก เลือกเตียงที่มีขนาดเหมาะสม รวมไปถึงการเลือกใช้เตียงไฟฟ้าที่มีฟังก์ชัน และคุณสมบัติที่เหมาะสมต่อการดูแลผู้ป่วย ช่วยป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยตกเตียงได้ตกได้เป็นอย่างดี
ส่วนใครที่ต้องการเตียงผู้ป่วยไฟฟ้า ที่มีคุณสมบัติในการป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยตกเตียง Modernform Health & Care มีจัดจำหน่ายหลายรุ่น ซึ่งคุณสามารถเลือกซื้อ หรือปรึกษาทีมงานผู้เชี่ยวชาญก่อนซื้อได้ตลอดเวลา
เตียงผู้ป่วย Modernform Healthcare
สามารถคลิกดูเตียงผู้ป่วย เตียงผู้สูงอายุ Modernform Healthcare แบบต่าง ๆ ได้ที่นี่ พร้อมให้คำแนะนำเกี่ยวกับการเลือกเตียงผู้ป่วยในแบบที่เหมาะสมที่สุดแบบฟรี ๆ ไม่มีค่าใช้จ่ายเพิมเติมผ่านทาง Line หรือ โทรติดต่อ