การพลิกตัวผู้ป่วยติดเตียง
การพลิกตัวผู้ป่วยติดเตียง เป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรละเลยในการดูแลผู้ป่วยติดเตียง ช่วยลดความเสี่ยงหรือป้องกันภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยติดเตียง จากการนอนติดเตียงเป็นระยะเวลานานๆ เช่น ผู้ป่วยอัมพฤกษ์ อัมพาต มีโอกาสเกิดแผลกดทับสูงมาก แผลกดทับอันตรายกว่าที่คิด แผลกดทับเกิดจากการกดทับเป็นระยะเวลานาน ผู้ดูแลต้องหมั่นพลิกตัวผู้ป่วยบ่อยๆ ในทุก 2 ชั่วโมง อาการแผลกดทับมักเกิดบริเวณที่ไม่มีไขมันและต้องรับแรงกดทับโดยตรง บริเวณที่มักเกิดแผลกดทับ เช่น กระดูกก้นกบ กระดูกสันหลัง ส้นเท้า เท้า หลังแขน ข้อศอก ท้ายทอย ข้างใบหู เข่า เป็นต้น
ทำไมถึงควรพลิกตัวผู้ป่วยติดเตียงทุกๆ 2 ชั่วโมง
การป้องกันแผลกดทับสำหรับผู้ป่วยติดเตียง คือ การพลิกตัวผู้ป่วยในทุกๆ 2 ชั่วโมง เพื่อป้องกันไม่ให้จุดใดจุดหนึ่งเกิดการกดทับเป็นเวลานาน โดยเฉพาะที่บริเวณก้นกบที่มีโอกาสเกิดแผลกดทับได้สูง หากผู้ป่วยนอนหงายเป็นระยะเวลานาน แรงกดทับเกิดจากน้ำหนักตัวทั้งหมดเป็นไปตามแรงโน้มถ่วงของโลก ในทุกๆ 2 ชั่วควรพลิกตัวผู้ป่วยยิ่งเป็นเตียงแข็ง ยิ่งต้องพลิกตัวบ่อยๆ พลิกตะแคงตัวทุก 2 ชั่วโมง สิ่งสำคัญต้องหมั่นสังเกตบริเวณปุ่มต่างๆ ว่ามีรอยแดง รอยถลอกหรือไม่
คลิกอ่านเพิ่มเติม : รวม 8 อุปกรณ์ผู้ป่วยติดเตียง ที่จำเป็นในการช่วยเหลือและดูแลผู้ป่วยติดเตียง
วิธีพลิกตัวผู้ป่วยติดเตียง ต้องทำอย่างไรบ้าง
วิธีพลิกตัวผู้ป่วยทำอย่างไรเป็นสิ่งที่ผู้ดูแลต้องศึกษาและปฏิบัติตาม เพื่อป้องกันหรือลดความเสี่ยงในการเกิดแผลกดทับ การพลิกตัวผู้ป่วยทำได้ไม่ยาก โดยพลิกได้ด้วย 3 ท่า ดังนี้
1.ท่าพลิกตะแคงตัวผู้ป่วย ให้หันเข้าหาผู้ดูแล
ท่านี้ให้พลิกตะแคงตัวผู้ป่วย โดยให้หันผู้ป่วยเข้าหาผู้ดูแลหรือในกรณีที่ผู้ป่วยเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาตฝั่งใดฝั่งหนึ่งให้พลิกตะแคงผู้ป่วยให้มาทับฝั่งที่มีแรง การพลิกตะแคงตัว ป้องกันแผลกดทับ มีดังนี้
- กางแขนผู้ป่วยข้างที่อยู่ฝั่งเดียวกับผู้ดูแลออกเล็กน้อยเพื่อไม่ให้พลิกตัวมาทับ
- จับเข่าด้านตรงข้ามผู้ดูแลชันขึ้น ล็อคเข่าด้วยมือข้างหนึ่งไว้ มืออีกข้างจับไหล่ผู้ป่วยด้านตรงข้าม ออกแรงพลิกตัวผู้ป่วยเข้าหาผู้ดูแลขั้นตอนนี้ต้องค่อยๆ ทำอย่างระมัดระวัง เสร็จแล้วห้ามปล่อยมือออกจากลำตัวป้องกันการไหล
- จัดขาข้างที่พลิกมาให้มีลักษณะกึ่งงอ จัดขาอีกข้างให้เหยียดออก นำหมอนมารองขา เอาหมอนอีกใบมารองใต้แขน หาหมอนอีกใบมารองหลังด้วย
2.ท่าพลิกตัวผู้ป่วยให้นอนหงาย
การพลิกตัวผู้ป่วยให้นอนหงาย โดยจัดท่าให้ผู้ป่วยนอนตะแคงอยู่ให้จับเข่าและหัวไหล่ผู้ป่วย จากนั้นค่อยๆ พลิกหงายอย่างระมัดระวัง ถ้าหากผู้ป่วยนอนหงายอยู่แล้ว จัดศีรษะผู้ป่วยให้สูงขึ้น 30 องศา โดยใช้หมอนหนุน หากใช้เตียงผู้ป่วยไฟฟ้าให้ปรับระดับหัวเตียงขึ้น 30 องศา นำหมอนมาวางรองใต้เข่า นำผ้าขนหนูมารองใต้ตาตุ่ม จัดแขนทั้งสองข้างวางไว้ข้างลำตัว แขนข้างที่อ่อนแรงควรนำหมอนมารองใต้ข้อศอกด้วย
3.ท่าพลิกตะแคงตัวผู้ป่วย ให้หันออกจากผู้ดูแล
ท่าสุดท้ายคือท่าพลิกตะแคงตัวผู้ป่วย ให้หันออกจากผู้ดูแล หากผู้ป่วยเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาตฝั่งใดฝั่งหนึ่งให้พลิกตะแคงผู้ป่วยให้มาทับฝั่งที่อ่อนแรง ขั้นตอนการพลิก มีดังนี้
- ผู้ดูแลยืนทางฝั่งที่ผู้ป่วยอ่อนแรง กางแขนผู้ป่วยฝั่งตรงข้ามผู้ดูแลออก โดยงอแขนเล็กน้อย จับเข่าผู้ป่วยด้านตรงข้ามผู้ดูแลชันขึ้น จากนั้นจับที่เข่าและหัวไหล่เพื่อพลิกตัวผู้ป่วยเข้าหาผู้ดูแลอย่างช้าๆ
- ท่านี้ลำตัวผู้ป่วยจะทับไหล่ข้างที่อ่อนแรง ดังนั้น ต้องหัวผู้ป่วยกลับไปเล็กน้อยเพื่อลดแรงกดทับ จากนั้นนำหมอนมารองหลังป้องกันไม่ให้พลิกกลับ
- ขาข้างที่พลิกมาจัดให้อยู่ในลักษณะกึ่งงอ ขาอีกข้างจัดให้เหยียดออก นำหมอนมารองขา หมอนอีกใบรองใต้แขน
ข้อควรระวังในการพลิกตัวผู้ป่วยติดเตียง
- ตำแหน่งผู้ป่วยและผู้ดูแลต้องไม่อยู่ห่างกันมากเกินไป
- การจัดท่าผู้ป่วยต้องจัดหาหมอนไม่ต่ำกว่า 2-3 ใบ
- ไม่พลิกตัวผู้ป่วยให้อยู่ในท่านอนคว่ำหรือคว่ำหน้า
- ควรบอกให้ผู้ป่วยทราบทุกครั้งก่อนพลิกตัวเพื่อลดการเกร็ง
แจกตารางเวลาพลิกตัวผู้ป่วยติดเตียงที่บ้าน
ผู้ดูแลต้องบริหารเวลาในการพลิกตัวผู้ป่วย พลิกตัวผู้ป่วยอย่างสม่ำเสมอเพื่อป้องกันแผลกดทับอย่างมีประสิทธิภาพ การจัดสรรเวลาเป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม แม้จะยุ่งแค่ไหนแต่ไม่ควรละเลย ตารางเวลาสำหรับพลิกตัวผู้ป่วย มีดังนี้
- 6 โมงเช้าให้พลิกตะแคงผู้ป่วยไปทางด้านซ้าย
- 8 โมงเช้าให้พลิกตะแคงผู้ป่วยนอนหงาย
- 10 โมงเช้า พลิกตะแคงผู้ป่วยไปทางขวา
- ตอนเที่ยง พลิกตะแคงผู้ป่วยไปทางซ้าย
- บ่ายสอง จัดท่าให้ผู้ป่วยนอนหงาย
- 4 โมงเย็น พลิกตะแคงผู้ป่วยไปทางขวา
- 6 โมงเย็น พลิกตะแคงผู้ป่วยไปทางซ้าย
คลิกอ่านเพิ่มเติม : แนะนำ 5 เตียงผู้ป่วยไฟฟ้า ยี่ห้อไหนดี ? ที่ตอบโจทย์การใช้งานดูแลผู้สูงอายุ และผู้ป่วยติดเตียง
การพลิกตัวผู้ป่วยติดเตียง จะทำเพื่อป้องกันหรือลดโอกาสการเกิดแผลกดทับจากนอนเป็นระยะเวลานานๆ เป็นสิ่งที่ผู้ดูแลต้องให้ความสำคัญ เพราะแผลกดทับมีอันตรายกว่าที่คิด หากแผลกดทับมีระดับความรุนมากหรือแผลติดเชื้อ ผู้ป่วยติดเตียงอาจมีโอกาสเสียชีวิตได้ ซึ่งปัจจุบันมีอุปกรณ์ช่วยป้องกันแผลกดทับอย่างเตียงผู้ป่วยให้ใช้งาน
โดยเตียงผู้ป่วยไฟฟ้าจะสามารถปรับเปลี่ยนท่าทางต่างๆ ของผู้ป่วยได้ด้วยรีโมทหรือแผงควบคุม ทำให้การพลิกตัวผู้ป่วยเป็นเรื่องง่ายและสะดวกมากยิ่งขึ้น ซึ่งหากใครกำลังมองหาเตียงผู้ป่วยที่มีโครงสร้างแข็งแรง ได้มาตรฐาน มีฟังก์ชันหลากหลายตอบโจทย์การใช้งาน แนะนำให้สั่งซื้อได้ที่ Modernform Health & Care ได้เลย เรามีเตียงผู้ป่วยคุณภาพดี หลากหลายรุ่น ในราคาที่คุ้มค่า พร้อมการรับประกันสินค้า
เตียงผู้ป่วย Modernform Healthcare
สามารถคลิกดูเตียงผู้ป่วย เตียงผู้สูงอายุ Modernform Healthcare แบบต่าง ๆ ได้ที่นี่ พร้อมให้คำแนะนำเกี่ยวกับการเลือกเตียงผู้ป่วยในแบบที่เหมาะสมที่สุดแบบฟรี ๆ ไม่มีค่าใช้จ่ายเพิมเติมผ่านทาง Line หรือ โทรติดต่อ