การป้องกันแผลกดทับ
การป้องกันแผลกดทับ เป็นการดูแลในเรื่องสุขอนามัยและร่างกายของผู้ป่วยติดเตียง เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนผู้ป่วยติดเตียงอย่างการเกิดแผลกดทับ สำหรับการป้องกันแผลกดทับสามารถทำได้ด้วยการใส่ใจดูแลผู้ป่วย เน้นในเรื่องของการสังเกต การทำความสะอาด กำจัดความชื้น และประเมินความเสี่ยงอย่างสม่ำเสมอ เพื่อที่จะได้เลือกใช้เทคนิคในการป้องกันที่เหมาะสม ทั้งนี้การป้องกันแผลกดทับต้องมีการตรวจสอบและดูแลอย่างต่อเนื่อง เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดแผลกดทับอย่างเหมาะสมในทุกๆ ช่วงเวลา
ทำไมต้องป้องกันแผลกดทับในผู้ป่วย
แม้ว่าแผลกดทับจะไม่ทำให้ผู้ป่วยเป็นอันตรายจนถึงแก่ชีวิต แต่ก็ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ขึ้นได้หากไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม สำหรับอันตรายที่เกิดขึ้นจากแผลกดทับหลักๆจะเป็นเรื่องของการติดเชื้อ โดยเฉพาะเมื่อแผลถูกเปิด หรือมีบาดแผลอื่นๆ ในพื้นที่เดียวกัน โดยปัจจัยเหล่านี้จะทำให้เกิดการติดเชื้อร้ายแรง อีกทั้งยังอาจทำให้แผลลุกลามไปยังบริเวณอื่นๆ ในร่างกาย มักจะเกิดขึ้นกับผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยง เช่น ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียง ผู้ป่วยเรื้อรังที่นอนติดเตียงเป็นเวลานาน รวมไปถึงผู้ป่วยที่มีภาวะทางความพิการต่างๆ
คลิกอ่านเพิ่มเติม : 5 วิธีการดูแลผู้ป่วยติดเตียง ต้องทำอย่างไร อุปกรณ์จำเป็นและสิ่งที่ต้องระวัง มีอะไรบ้าง ?
วิธีป้องกันแผลกดทับ มีอะไรบ้าง ?
1.เปลี่ยนท่าผู้ป่วยบ่อยๆ
การเปลี่ยนท่าให้กับผู้ป่วยบ่อยๆ เป็นหนึ่งในการป้องกันการเกิดแผลกดทับ เนื่องจากการเปลี่ยนท่าให้กับผู้ป่วยจะช่วยลดแรงกดทับ ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนเลือดให้กับผู้ป่วย นอกจากนี้การเปลี่ยนท่าให้กับผู้ป่วยยังช่วยลดความเจ็บปวด ช่วยเพิ่มความสะดวกสบายให้กับผู้ป่วย ดังนั้นจึงควรเปลี่ยนท่าให้กับผู้ป่วยอย่างน้อย 1-2 ชั่วโมงต่อครั้ง หรือตามที่แพทย์ผู้เชี่ยวชาญแนะนำ
คลิกอ่านเพิ่มเติม : วิธีพลิกตัวผู้ป่วยติดเตียง อย่างถูกต้องและปลอดภัย ต้องทำอย่างไร
2.ดูแลผิวหนังผู้ป่วยให้สะอาดและแห้ง
ความชื้นจะทำให้ผิวหนังของผู้ป่วยเกิดความอ่อนแอ และเสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับ ดังนั้นผู้ดูแลจำเป็นที่จะต้องดูแลผิวหนังของผู้ป่วยให้สะอาดและแห้งอยู่เสมอ โดยสามารถทำได้ด้วยการใช้ผ้าขนหนูเช็ดน้ำเช็ดบริเวณที่มีความชื้นบ่อยๆ และควรเปลี่ยนผ้าเช็ดตัว รวมไปถึงเสื้อผ้าที่มีความชื้นเป็นประจำ เพื่อป้องกันการสะสมของความชื้นและกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์
3.ใช้หมอนและเบาะรองนั่ง
การใช้หมอนและเบาะรองนั่งเป็นวิธีที่ดีในการป้องกันการเกิดแผลกดทับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับผู้ป่วยที่มีภาวะการเคลื่อนไหวน้อย หรือมีภาวะโรคเบาหวานที่เสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับได้ง่าย โดยการใช้หมอนควรใช้แบบที่มีความอ่อนนุ่ม เพราะจะช่วยลดแรงกดทับบนส่วนที่มีน้ำหนักมากได้ ส่วนเบาะรองนั่ง ควรใช้แบบที่มีฟองอากาศหรือเม็ดพลาสติก เพราะจะช่วยกระจายน้ำหนักตัวให้เท่ากันได้
4.ตรวจสอบรอยแดง
การตรวจสอบรอยแดงบนผิวหนังของผู้ป่วยเป็นประจำ จะช่วยให้ผู้ดูแลหาสัญญาณของรอยแดง ที่เป็นสัญญาณเริ่มต้นของแผลกดทับได้ โดยเมื่อสังเกตเห็นรอยแดงบนตัวของผู้ป่วย ให้ผู้ดูแลดำเนินการเกี่ยวการลดแรงกดทับทันที เพราะการลดแรงกดทับจะช่วยป้องกันการเกิดแผลกดทับที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ป่วยได้
5.ให้ผู้ป่วยทานอาหารที่มีประโยชน์
การบำรุงสุขภาพร่างกายให้กับผู้ป่วย ด้วยการให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ มีโภชนาการที่ครบถ้วน ดื่มน้ำในปริมาณที่เพียงพอ เป็นหนึ่งในการดูแลป้องกันแผลกดทับที่มีประสิทธิภาพ นอกจากจะช่วยป้องกันการเกิดแผลกดทับแล้ว ยังช่วยให้การไหลเวียนโลหิต และสุขภาพผิวหนังของผู้ป่วยดีขึ้นอีกด้วย
การป้องกันแผลกดทับ เป็นวิธีการดูแลรักษาผู้ป่วยที่ดี เพราะจะทำให้ผู้ป่วยไม่เกิดภาวะการติดเชื้อ ไม่เกิดความลำบากในการนอน และยังไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ตามมา ดังนั้นการป้องกันแผลกดทับจึงเป็นสิ่งที่ควรทำ สำหรับวิธีป้องกันแผลกดทับที่ได้ผลดีก็คือการลดแรงกดบนผิวหนัง สามารถทำได้ด้วยการเปลี่ยนท่าทางของผู้ป่วยอย่างสม่ำเสมอ
นอกจากนี้การใช้หมอนหรือเบาะรองนั่ง รวมไปถึงการใช้เตียงผู้ป่วยของ Modernform Health & Care ก็เป็นอีกหนึ่งวิธีการป้องกันการเกิดแผลกดทับที่ได้ผลดี เพราะอุปกรณ์และเครื่องมือเหล่านี้จะช่วยลดแรงกดทับ ลดการเสียดสี พร้อมกับช่วยพลิกตัวผู้ป่วย ไม่ให้ผู้ป่วยเกิดแพ้กดทับในระหว่างที่นอนพักรักษาตัวได้
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมเตียงผู้ป่วย Modernform Health & Care : คลิกที่นี่
เตียงผู้ป่วย Modernform Healthcare
สามารถคลิกดูเตียงผู้ป่วย เตียงผู้สูงอายุ Modernform Healthcare แบบต่าง ๆ ได้ที่นี่ พร้อมให้คำแนะนำเกี่ยวกับการเลือกเตียงผู้ป่วยในแบบที่เหมาะสมที่สุดแบบฟรี ๆ ไม่มีค่าใช้จ่ายเพิมเติมผ่านทาง Line หรือ โทรติดต่อ