การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยติดเตียง
การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยติดเตียง เป็นกระบวนการในการย้ายผู้ป่วยติดเตียง ที่ไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้ตามปกติ โดยการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยจะเกิดขึ้นในสถานการณ์ต่างๆ เช่น ย้ายผู้ป่วยจากเตียงไปยังเก้าอี้ หรือในกรณีที่ต้องการย้ายผู้ป่วยออกจากเตียง เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยโรค เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล หรือสถานบริการดูแลสุขภาพอื่นๆ แต่การเคลื่อนย้ายในแต่ละครั้งจะต้องใช้ความระมัดระวัง และต้องทำอย่างถูกวิธี เพื่อป้องกันการบาดเจ็บ และป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ป่วย
การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยติดเตียง มีความสำคัญอย่างไร
สำหรับการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยติดเตียง นั้นถือได้ว่ามีความสำคัญอย่างมากในการดูแลผู้ป่วยติดเตียง ช่วยเคลื่อนย้ายตัวผู้ป่วยออกจากเตียง เพื่อทำการรักษา หรือทำการดูแลในรูปแบบต่างๆ ตามแผนการรักษา นอกจากนี้การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยยังช่วยป้องกันภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแอ เนื่องจากผู้ป่วยได้เหยียดส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น เข่า ข้อศอก หรือสะโพก ส่งผลให้กล้ามเนื้อได้ทำงาน และมีการฟื้นตัวที่ดี และที่สำคัญคือช่วยกระตุ้นการไหลเวียนเลือดและระบบภูมิคุ้มกัน ช่วยป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยติดเตียง และป้องกันการเกิดแผลกดทับได้เป็นอย่างดี
6 วิธีเคลื่อนย้ายผู้ป่วยติดเตียง จากเตียงไปยังรถเข็น
1.สร้างความมั่นใจให้กับผู้ป่วย
สื่อสารกับผู้ป่วยก่อนทำการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย โดยให้ผู้ดูแลอธิบายกระบวนการเคลื่อนย้าย และขอความยินยอมจากผู้ป่วย พร้อมกับสอบถามอาการผู้ป่วยทุกครั้งก่อนการเคลื่อนย้าย ว่าผู้ป่วยมีอาการไม่สบาย หรือมีอาการเจ็บปวดร่างกายส่วนใดหรือไม่ เพื่อป้องกันการบาดเจ็บเพิ่มเติมที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ป่วยในระหว่างการเคลื่อนย้าย
2.เตรียมสภาพแวดล้อมโดยรอบ
เคลียร์พื้นที่และทำการเก็บสิ่งกีดขวางรอบๆ เตียง และรอบๆ รถเข็น เพื่อป้องกันอุบัติเหตุ แล้วเพื่อให้การเคลื่อนย้ายมีความราบรื่น ปลอดภัย และควรตรวจสอบรถเข็นก่อนเคลื่อนย้ายตัวผู้ป่วย ว่ารถเข็นมีความปลอดภัย ไม่มีความชำรุด หรือเกิดความเสียหาย เพื่อป้องกันอันตรายจากการใช้รถเข็นที่ไม่มีคุณภาพ
3.จัดตำแหน่งร่างกายผู้ป่วยให้เหมาะสม
จัดตำแหน่งผู้ป่วย ให้ผู้ป่วยอยู่ในท่านั่งก่อนทำการเคลื่อนย้าย จากนั้นให้เข็นรถเข็นด้านหน้าไปที่ข้างเตียงผู้ป่วยโดยให้เอียงรถเข็นจากเตียงประมาณ 45 องศา เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถเอื้อมมือจับรถเข็นได้ จากนั้นทำการล็อกล้อรถเข็นให้เรียบร้อย เพื่อป้องกันรถเข็นไหล
4.ใช้อุปกรณ์ช่วยเหลือ
ถ้ามีอุปกรณ์ผู้ป่วยติดเตียง ที่ช่วยในการเคลื่อนย้ายตัวผู้ป่วย เช่น ผ้าสไลด์ตัวผู้ป่วย กระดานยกตัว หรืออุปกรณ์ช่วยเหลืออื่นๆ ที่เหมาะสมกับสภาพของผู้ป่วย ให้นำมาใช้กับผู้ป่วย เพื่อให้การเคลื่อนย้ายมีประสิทธิภาพและมีความสะดวกสบายยิ่งขึ้น แต่ที่สำคัญผู้ดูแลการเคลื่อนย้ายจะต้องปฏิบัติตามคำแนะนำในการใช้อุปกรณ์ให้ถูกต้องด้วย
5.ประคองตัวผู้ป่วย
หากผู้ป่วยสามารถลุกขึ้นยืนได้ ให้ผู้ป่วยจากที่รถเข็น แล้วหมุนตัวหันหลังเข้าหารถเข็น สำหรับขั้นตอนนี้ผู้ดูแลควรดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด ถ้าผู้ป่วยออกแรงได้น้อย ผู้ดูแลจะต้องประคองตัวผู้ป่วยในระหว่างการเคลื่อนย้ายตลอดเวลา โดยเลือกประคองผู้ป่วยในส่วนที่ร่างกายผู้ป่วยอ่อนแรง
6.ให้ผู้ป่วยหย่อนตัวนั่งบนรถเข็น
ก่อนย่อตัวนั่งลงบนรถเข็น ให้ผู้ป่วยงอเข่าเล็กน้อย และเมื่อผู้ป่วยหย่อนตัวนั่งบนรถเข็นแล้ว ให้ตรวจสอบความสบายของผู้ป่วย หากผู้ป่วยรู้สึกไม่สบาย ให้ขยับตัวผู้ป่วยเพื่อหาตำแหน่งที่สบาย จากนั้นยกเท้าของผู้ป่วยวางไว้บนที่พักเท้าของรถเข็น
ทำไมการเลือกใช้เตียงผู้ป่วย ถึงมีผลกับการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยติดเตียง
เหตุผลที่เตียงผู้ป่วยมีผลกับการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยติดเตียง ก็เพราะเตียงผู้ป่วยได้รับการออกแบบให้เหมาะสมกับการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย โดยเฉพาะเตียงผู้ป่วยปรับระดับไฟฟ้า ที่มาพร้อมคุณสมบัติ และฟังก์ชันต่างๆ ที่เอื้อต่อการเคลื่อนย้ายตัวผู้ป่วย เช่น ปรับระดับความสูง ปรับระดับความเอียงของเตียง ทำให้ผู้ป่วยสามารถลุกเข้าออกจากเตียงได้อย่างง่ายดาย และยังช่วยให้ผู้ดูแลสามารถพยุงตัวผู้ป่วยลงจากเตียง โดยไม่ทำให้ผู้ป่วยเกิดการบาดเจ็บ หรือเกิดอันตรายในระหว่างการเคลื่อนย้ายตัวออกจากเตียง
การยกหรือเคลื่อนย้ายผู้ป่วยติดเตียง ด้วยอุปกรณ์ช่วยเหลืออื่นๆ
การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยติดเตียง สามารถทำได้โดยใช้กำลังของผู้ดูแล และอุปกรณ์ช่วยเหลือต่างๆ เพื่อให้การเคลื่อนย้ายมีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ โดยอุปกรณ์ช่วยเหลือจะให้การสนับสนุนเพิ่มเติมทางด้านกลไก เพื่อให้การเคลื่อนย้ายมีความง่าย และช่วยทุ่นแรงของผู้ดูแล แต่ผู้ดูแลจะต้องประสานงานกันอย่างเหมาะสม เพื่อความปลอดภัยและความสะดวกสบายในระหว่างกระบวนการเคลื่อนย้าย ซึ่งสำหรับอุปกรณ์ที่ช่วยในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยอื่นๆ ที่มีความสำคัญ นอกจากเตียงผู้ป่วย มีดังนี้
- แผ่นเคลื่อนย้าย หรือแผ่นเลื่อน (Transfer or slide sheets)
- กระดานเคลื่อนย้าย (Transfer boards)
- ลิฟต์เชิงกล (Mechanical lifts)
- ลิฟต์ยกตัวแบบนั่ง (Sit-to-stand lifts)
- เสาเคลื่อนย้ายหรือบาร์ (Transfer poles or bars)
การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยติดเตียง ที่มีความบกพร่องในการเคลื่อนไหวหรือช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ นอกจากจะทำให้ผู้ป่วยสามารถลุกเข้าออกจากเตียงได้อย่างสะดวกสบายแล้ว การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยติดเตียงยังช่วยป้องกันการเกิดแผลกดทับ ในกรณีที่ผู้ป่วยต้องนอนต้องพักรักษาตัวอยู่ในตำแหน่งเดิมเป็นเวลานานๆ และยังช่วยลดความเจ็บป่วยให้กับผู้ป่วย ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกสบายมากขึ้นและมีคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าเดิม
ส่วนใครที่ต้องการเตียงผู้ป่วยติดเตียงที่คุณภาพดี มีคุณสมบัติเหมาะสมต่อการดูแลผู้ป่วย และมีฟังก์ชั่นช่วยในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยติดเตียง ให้การเคลื่อนย้ายเป็นไปอย่างราบรื่นและสะดวกสบาย ก็สามารถสั่งซื้อได้เลยที่ Modernform Health & Care ผู้จัดจำหน่ายเตียงผู้ป่วย เตียงผู้ป่วยไฟฟ้าที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐานระดับโลก ผลิตจากวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ปลอดภัยต่อผู้ใช้งาน มีการรับประกันสินค้านานถึง 1 ปี
เตียงผู้ป่วย Modernform Healthcare
สามารถคลิกดูเตียงผู้ป่วย เตียงผู้สูงอายุ Modernform Healthcare แบบต่าง ๆ ได้ที่นี่ พร้อมให้คำแนะนำเกี่ยวกับการเลือกเตียงผู้ป่วยในแบบที่เหมาะสมที่สุดแบบฟรี ๆ ไม่มีค่าใช้จ่ายเพิมเติมผ่านทาง Line หรือ โทรติดต่อ