การจัดท่านอนผู้ป่วยติดเตียง และท่านั่งให้ผู้ป่วย มีวิธีการทำอย่างไรให้ถูกต้อง และปลอดภัย

การจัดท่านอนผู้ป่วยติดเตียง ทำอย่างไร มีท่าอะไรบ้าง

การจัดท่านอนผู้ป่วยติดเตียง

การจัดท่านอนผู้ป่วยติดเตียงรวมถึงท่านั่งเป็นสิ่งสำคัญมาก บ้านไหนมีผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยติดเตียงจำเป็นต้องศึกษาวิธีการจัดท่านอนและท่านั่งของผู้ป่วยให้เหมาะสม เพื่อป้องกันความผิดปกติของกล้ามเนื้อ ลดอาการเกร็ง ป้องกันภาวะข้อติดแข็ง ลดอาการบวมหรือปวดลดการกดทับที่เส้นประสาท และที่สำคัญช่วยลดปัญหาการเกิดแผลกดทับจากการนอนติดเตียง โดยแผลกดทับมักเกิดขึ้นที่บริเวณก้นของผู้ป่วย วันนี้เราจะพาทุกคนมาดูวิธีการจัดท่านอนและท่านั่งผู้ป่วยติดเตียงอย่างถูกต้องเหมาะสมทำอย่างไร และไขข้อสงสัยที่ว่าควรเปลี่ยนท่านอนผู้ป่วยติดเตียงบ่อยแค่ไหน ?

ประโยชน์ของการจัดท่านอนผู้ป่วยติดเตียง

การจัดท่านอนผู้ป่วยติดเตียงเป็นสิ่งสำคัญไม่ว่าจะเป็นผู้ป่วยติดเตียงที่นอนพักฟื้นในบ้านหรือการนอนพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล ผู้ดูแลควรจัดท่านอนของผู้ป่วยติดเตียงให้ถูกต้องและเหมาะสมเสมอ การจัดท่านอนของผู้ป่วยติดเตียงอย่างถูกวิธี มีประโยชน์ ดังนี้

  • ช่วยป้องกันภาวะผิดปกติของกล้ามเนื้อ
  • ช่วยลดอาการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ
  • ช่วยป้องกันภาวะข้อติดแข็ง
  • ช่วยลดอาการปวดและบวมของร่างกายข้างที่อ่อนแรง
  • ช่วยป้องกันปัญหาแผลกดทับ
  • ช่วยลดอาการกดทับที่บริเวณเส้นประสาท

คลิกอ่านเพิ่มเติม : 8 ภาวะแทรกซ้อนผู้ป่วยติดเตียง ที่ต้องระวังในการดูแลและฟื้นฟูผู้ป่วยติดเตียง มีอะไรบ้าง ?

วิธีการจัดท่านอนผู้ป่วยติดเตียง มีอะไรบ้าง

วิธีการจัดท่านอนผู้ป่วยติดเตียง มีอะไรบ้าง ?

วิธีจัดท่านอนของผู้ป่วยติดเตียงให้ถูกต้องแล้วเหมาะสมทำอย่างไร ผู้ดูแลสามารถศึกษาได้ง่ายๆ ด้วยตนเองแล้วนำไปปฏิบัติกับผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุที่นอนป่วยติดเตียงอยู่ที่บ้านได้ โดยสามารถจัดท่านอนได้ 2 ท่าหลักๆ ดังนี้

1.ท่านอนหงาย

การจัดท่านอนของผู้ป่วยให้นอนหงายโดยวางแขนข้างที่อ่อนแรงไว้บนหมอน จากนั้นจัดท่าให้มืออยู่สูงกว่าศอกและศอกอยู่สูงกว่าไหล่ ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการกำมือเกร็ง ควรหาสิ่งของให้ผู้ป่วยใช้กำมือ เช่น ผ้าขนหนูม้วนเล็กหรือลูกบอลนิ่ม เป็นต้น เพื่อป้องกันภาวะหดเกร็งของกล้ามเนื้อ สำหรับขาข้างที่อ่อนแรงควรใช้หมอนหนุนใต้สะโพกป้องกันขาแบะออกด้านข้าง หลังจากจัดท่านอนหงายเรียบร้อยแล้วให้ปรับเตียงขึ้นสูงไม่เกิน 60 องศา ช่วยลดแรงกดทับที่บริเวณปุ่มกระดูกท้ายทอย ก้นกบและสะบักป้องกันไม่ให้ผิวหนังบริเวณก้นกบดึงรั้งจนทำให้เกิดปัญหาแผลกดทับตามมา

2.ท่านอนตะแคง

การจัดท่านอนของผู้ป่วยให้อยู่ในท่านอนตะแคง แบ่งออกเป็น 2 ท่า ได้แก่ ท่านอนตะแคงทับข้างแข็งแรงและท่านอนตะแคงทับข้างอ่อนแรง สำหรับการจัดท่านอนตะแคงทับข้างแข็งแรงวิธีจัดท่าคือให้ผู้ป่วยนอนตะแคงทั้งตัว จากนั้นจัดไหล่ข้างอ่อนแรงงุ้มไปทางด้านหน้า โดยใช้หมอนรองแขนข้างที่อ่อนแรงไว้นำหมอนรองขาข้างที่อ่อนแรงด้วยและจัดสะโพกงอเข่าจากนั้นนำเท้าไว้บนหมอนเพื่อป้องกันข้อเท้าบิด สำหรับการจัดท่านอนตะแคงทับข้างอ่อนแรงวิธีจัดท่าคือให้ผู้ป่วยนอนตะแคงทั้งตัว แขนและสะบักข้างอ่อนแรงเหยียดออกมาด้านหน้าและอยู่ในท่าหงายมือ จัดขาข้างอ่อนแรงเหยียดข้อสะโพกตรงขาข้างที่แข็งแรงให้วางไว้บนหมอนงอสะโพกและเข่าโน้มมาทางด้านหน้า

ควรเปลี่ยนท่านอนผู้ป่วยติดเตียงบ่อยแค่ไหน

ควรเปลี่ยนท่านอนผู้ป่วยติดเตียงบ่อยแค่ไหน ?

การจัดท่านอนผู้ป่วยติดเตียงให้เปลี่ยนท่าในทุกๆ 2 ชั่วโมง ควรปรับเปลี่ยนท่าทางของผู้ป่วยติดเตียงอย่างสม่ำเสมอถือเป็นสิ่งสำคัญห้ามละเลยเด็ดขาดเพื่อป้องกันการเกิดแผลกดทับ ลดโอกาสการเกิดแผลกดทับตามจุดที่มีการลงน้ำหนัก ผู้ดูแลควรมีนาฬิกาติดไว้แจ้งเตือนการพลิกตัวผู้ป่วยในทุกๆ 2 ชั่วโมง เพื่อป้องกันการหลงลืมหรือตั้งเวลาไว้แจ้งเตือนโดยเฉพาะเพราะหากละเลยหรือหลงลืมเมื่อผู้ป่วยมีปัญหาแผลกดทับหากเกิดการติดเชื้ออาจนำไปสู่การเสียชีวิตได้เลยทีเดียว

คลิกอ่านเพิ่มเติม : การป้องกันแผลกดทับ ในผู้ป่วยติดเตียงและผู้สูงอายุ มีวิธีอะไรบ้าง ?

วิธีการจัดท่าผู้ป่วยติดเตียงให้อยู่ในท่านั่ง มีอะไรบ้าง ?

หลังจากที่เราได้รู้วิธีการจัดท่านอนผู้ป่วยติดเตียงให้ถูกต้องและเหมาะสมไปแล้วทีนี้มาถึงการจัดท่านั่งของผู้ป่วยติดเตียงโดยสามารถจัดท่านั่งให้ผู้ป่วยติดเตียงได้ 3 ท่าหลักๆ ดังนี้

1.ท่านั่งสำหรับกินอาหาร

การจัดท่านั่งผู้ป่วยติดเตียงสำหรับป้อนอาหาร โดยจัดให้ศีรษะของผู้ป่วยติดเตียงอยู่สูงประมาณ 45-60 องศาขึ้นไปอาจใช้หมอนสอดรองศีรษะ หากนอนบนเตียงที่ออกแบบมาสำหรับผู้ป่วยโดยเฉพาะสามารถปรับท่าทางต่างๆ ได้ง่าย ยิ่งเป็นเตียงผู้ป่วยไฟฟ้ายิ่งใช้งานสะดวกสบายสามารถควบคุมการทำงานได้ด้วยรีโมทคอนโทรลหรือแผงควบคุมไม่ต้องออกแรงหมุนไกร์เตียง โดยผู้ดูแลจะต้องปรับเตียงโดยปรับที่ช่วงปลายเท้าก่อนปรับระดับให้เหมาะสมหลังจากนั้นจึงปรับด้านหัวเตียงให้สูงขึ้นประมาณ 45 องศา

2.ท่านั่งบนเตียงทั่วไป

สำหรับการจัดท่านั่งผู้ป่วยติดเตียงทั่วไปเพื่อให้เกิดแรงกดน้อยควรให้ผู้ป่วยนั่งพิงพนักเก้าอี้ ขาหย่อนเล็กน้อย หากผู้ป่วยมีภาวะอัมพาตครึ่งล่างควรให้ผู้ป่วยติดเตียงเคลื่อนไหวร่างกายโดยเอียงร่างกายไปทางขวา ทางซ้ายโน้มไปข้างหน้าในทุกๆ 30 นาทีโดยทำครั้งละประมาณ 30 วินาที

3.ท่านั่งบนรถเข็น

สำหรับการจัดท่านั่งของผู้ป่วยติดเตียงในกรณีที่ผู้ป่วยนั่งอยู่บนรถเข็น ต้องจัดให้ลำตัวของผู้ป่วยตรงสะโพกชิดกับพนักหรือใช้หมอนช่วยดันให้ตัวผู้ป่วยตรง นำหมอนมารองมือข้างที่อ่อนแรงไว้ด้วยเพื่อป้องกันภาวะข้อไหล่หลุดและควรปรับเปลี่ยนท่าทางในขณะนั่งบนรถเข็นทุกๆ 10-15 นาที ช่วยถ่ายน้ำหนักตัวของผู้ป่วยไม่ให้เกิดการกดทับที่ส่วนใดส่วนหนึ่งเป็นเวลานานทั้งนี้ทั้งนั้นจะต้องเลือกรถเข็นที่สามารถปรับระดับได้เพื่อผ่อนแรงกดทับเลือกเบาะนั่งที่ช่วยผ่อนแรงกดทับช่วยกระจายน้ำหนักตัวได้ดีทำให้ผู้ป่วยนั่งอยู่ในท่าที่สบายและผ่อนคลายมากขึ้น

ข้อควรระวังในการจัดท่าผู้ป่วยติดเตียง

ข้อควรระวังในการจัดท่าผู้ป่วยติดเตียง

  • เมื่อต้องให้อาหารผู้ป่วยติดเตียงศีรษะของผู้ป่วยติดเตียงต้องสูงควรหาหมอนอีกใบมารองที่ศีรษะ
  • หลังจากผู้ป่วยรับประทานอาหารเสร็จไม่ควรให้ผู้ป่วยนอนทันทีควรให้ผู้ป่วยนั่งเพื่อย่อยอาหารประมาณ 30 นาทีและที่สำคัญต้องเลือกอาหารอ่อนที่ย่อยง่าย
  • ใช้หมอนข้างใบใหญ่ดันบริเวณปลายเท้าทั้งสองข้างของผู้ป่วยเพื่อป้องกันการลื่นไถล
  • อย่าให้ผู้ป่วยนอนบนที่นอนแข็งไม่ยืดหยุ่นเลือกที่นอนที่ช่วยป้องกันการเกิดแผลกดทับหรือกระจายแรงกดทับได้ดี
  • ไม่ควรให้ผู้ป่วยอยู่ในท่าศีรษะสูงเกิน 60 องศาและนานเกิน 30 นาทีอาจทำให้ลื่นไถลหรือเกิดแผลกดทับขึ้นได้

การจัดท่านอนผู้ป่วยติดเตียง และการจัดท่านั่งผู้ป่วยติดเตียง นั้นควรทำอย่างถูกต้องและเหมาะสม เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถทำกิจกรรมต่างๆ ได้อย่างสะดวกและปลอดภัย โดยในการจัดท่าผู้ป่วยติดเตียงหากมีอุปกรณ์อย่างเตียงผู้ป่วยไฟฟ้า ก็จะช่วยให้การปรับเปลี่ยนท่าทางต่างๆ ทำได้ง่ายและสะดวกมากยิ่งขึ้น

สามารถปรับระดับของเตียงให้เหมาะสมกับการปรับเปลี่ยนท่าผู้ป่วยได้ด้วยรีโมทคอนโทรลหรือแผงควบคุม ซึ่งใครที่ต้องการซื้อเตียงผู้ป่วยเพื่อนำไปใช้งาน ก็สามารถสั่งซื้อได้เลยที่ Modernform Health & Care ผู้จัดจำหน่ายเตียงผู้ป่วยไฟฟ้า คุณภาพดี มีมาตรฐาน ทันสมัยใช้งานง่าย มีการรับประกันให้ถึง 1 ปี

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมเตียงผู้ป่วย Modernform Health & Care : คลิกที่นี่

เตียงผู้ป่วย Modernform Healthcare

สามารถคลิกดูเตียงผู้ป่วย เตียงผู้สูงอายุ Modernform Healthcare แบบต่าง ๆ ได้ที่นี่ พร้อมให้คำแนะนำเกี่ยวกับการเลือกเตียงผู้ป่วยในแบบที่เหมาะสมที่สุดแบบฟรี ๆ ไม่มีค่าใช้จ่ายเพิมเติมผ่านทาง Line หรือ โทรติดต่อ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และโฆษณา

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลวส่วนบบุคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ Cookies ที่เราใช้งานได้แก่ Google Analytics และ Facebook Pixel

Save