ผู้สูงอายุนอนไม่หลับ หลับยาก ควรทำอย่างไร สาเหตุและวิธีแก้อาการนอนไม่หลับในผู้สูงอายุ มีอะไรบ้าง

ผู้สูงอายุนอนไม่หลับ ส่วนใหญ่เกิดจากอะไร มีวิธีแก้ไขอย่างไรบ้าง

ผู้สูงอายุนอนไม่หลับ

ปัญหาผู้สูงอายุนอนไม่หลับ นอนหลับยาก นั้นเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยและเป็นปัญหาเรื้อรังในผู้สูงอายุ โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัวหรือติดเตียง ซึ่งการที่ผู้สูงอายุนอนไม่หลับหรือนอนหลับยากเกิดได้จากหลายสาเหตุ เมื่อนอนไม่หลับบ่อยๆ จะทำให้มีผลกระทบตามมา อาจเกิดผลเสียต่อสุขภาพร่างกายและสุขภาพจิตใจด้วย สาเหตุอะไรบ้างที่ทำให้ผู้สูงอายุนอนไม่หลับและจะป้องกันได้อย่างไร วันนี้เรามีแนวทางดีๆ มาฝาก บุตรหลานหรือบ้านไหนต้องดูแลผู้สูงอายุที่บ้านสามารถนำไปปฏิบัติตามได้เลย

เลือกอ่านหัวข้อที่สนใจ show

สาเหตุการนอนไม่หลับในผู้สูงอายุ มีอะไรบ้าง ?

1.พฤติกรรมการใช้ชีวิต

สาเหตุที่ทำให้ผู้สูงอายุนอนไม่หลับอาจเกิดจากพฤติกรรมบางอย่างหรือพฤติกรรมการใช้ชีวิต ยกตัวอย่างเช่น ผู้สูงอายุหลายๆ ท่านชอบนอนพักผ่อนหรืองีบตอนกลางวัน เนื่องจากไม่ได้ทำงานหรือไม่มีกิจกรรมอะไรทำ ทำให้ผู้สูงอายุต้องนอนพักผ่อน หรือชอบดื่มชา กาแฟในปริมาณมากจนเป็นสาเหตุทำให้ตอนกลางคืนนอนไม่หลับ

2.ผลข้างเคียงจากการทานยา

หนึ่งในสาเหตุที่ทำให้ผู้สูงอายุนอนไม่หลับคือผลข้างเคียงจากการทานยา ผู้สูงอายุมักมีโรคประจำตัวต่างๆ และต้องรับประทานยาเป็นประจำ ซึ่งยาบางชนิดอาจมีผลข้างเคียงทำให้นอนไม่หลับได้ยาจะออกฤทธิ์ในระบบประสาทส่วนกลางหรือสมอง เช่น ยาแก้คัดจมูกน้ำมูกไหล ยาขยายหลอดลม ยารักษาโรคไทรอยด์ โรคพาร์กินสัน ยาแก้อาการชัก ยารักษาโรคซึมเศร้า ยารักษาภาวะสมองเสื่อม ยาสเตียรอยด์ เป็นต้น

3.ปัญหาสุขภาพจิต

เมื่ออายุเพิ่มสูงขึ้นหลายคนมักเจอกับปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพจิต เช่น รู้สึกว่าตัวเองไม่มีคุณค่า รู้สึกหมดหวัง เหนื่อยล้าอ่อนแรงซึมเศร้า หดหู่หรือมีความเครียดสะสมมีความกังวลใจ คิดมากในหลายๆ เป็นต้น ปัญหาสุขภาพจิตนี่เองที่เป็นสาเหตุทำให้ผู้สูงอายุนอนไม่ค่อยหลับและมักทำให้มีปัญหาสุขภาพร่างกายต่างๆ ตามมา

ผู้สูงอายุนอนไม่หลับทำให้เกิดความเจ็บป่วยได้

4.ความเจ็บป่วย

อาการของโรคบางอย่าง อาจมีผลทำให้ผู้สูงอายุต้องสะดุ้งตื่นขึ้นมากลางดึกหรือนอนไม่ค่อยหลับ เช่น โรคเบาหวาน ภาวะต่อมลูกหมากโต การเป็นผู้ป่วยติดเตียง หรือมีแผลกดทับจากการนอนนานๆ เป็นต้น รวมถึงการลุกขึ้นมาปัสสาวะหลายครั้งกลางดึกหลายๆ ครั้ง บางคนมีภาวะหลับสนิทยากหรือบางคนมีภาวะปวดกระดูก ปวดข้อ ปวดหลัง ตลอดจนปัญหาท้องผูก แน่นท้อง อาหารไม่ย่อยและโรคกรดไหลย้อน

คลิกอ่านเพิ่มเติม : ภาวะแทรกซ้อนผู้ป่วยติดเตียง ที่ต้องระวังในการดูแลและฟื้นฟูผู้ป่วยติดเตียง มีอะไรบ้าง ?

5.การเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย

เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้นร่างกายเกิดการเสื่อมถอยประสิทธิภาพการทำงานของสมองลดน้อยลง ร่างกายผลิตฮอร์โมนเมลาโทนินได้ลดลงฮอร์โมนชนิดนี้ช่วยในเรื่องการนอนหลับเป็นฮอร์โมนที่สร้างมาจากสมอง โดยสมองจะกระตุ้นและสร้างฮอร์โมนชนิดนี้ขึ้นมาในเวลาที่ไม่มีแสงอาทิตย์หรือมีแสงสว่างน้อยเมื่อถึงตอนกลางคืนจึงทำให้หลายคนเกิดอาการง่วงนอน

6.สภาพแวดล้อมภายในห้องนอน

ปัญหาด้านสภาพแวดล้อมภายในห้องนอนอาจทำให้ผู้สูงอายุนอนไม่หลับ ผู้สูงอายุที่มีความวิตกกังวลเป็นทุนเดิมอยู่แล้วหรือมีปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพร่างกาย รวมถึงสุขภาพจิตใจเมื่อมีปัญหาสิ่งแวดล้อมเข้ามากระตุ้น เช่น มีแสงสว่างมากเกินไปหรืออยู่ในที่คับแคบ มีเสียงดังรบกวน เป็นต้น จึงส่งผลให้ผู้สูงอายุนอนหลับยากหรือนอนไม่หลับนั่นเอง

การนอนไม่หลับในผู้สูงอายุ ส่งผลเสียต่อสุขภาพอย่างไร

การนอนไม่หลับในผู้สูงอายุ ส่งผลเสียต่อสุขภาพอย่างไร

เมื่อผู้สูงอายุนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอทำให้มีปัญหาสุขภาพต่างๆ ตามมาทำให้รู้สึกอ่อนเพลียไม่สดชื่น ไม่กระปรี้กระเปร่าประสิทธิภาพการทำกิจกรรมต่างๆ ลดน้อยลง อาจเกิดภาวะสมองตื้อ ความจำไม่ค่อยดี คิดอะไรไม่ค่อยออกหรือคิดได้ช้า การนอนไม่หลับยังทำให้รู้สึกวิตกกังวลและกลายเป็นโรคซึมเศร้าได้และเมื่อนอนไม่หลับสุขภาพร่างกายไม่แข็งแรงภูมิคุ้มกันลดลงในท้ายที่สุดทำให้โรคภัยไข้เจ็บต่างๆ เข้ามาเบียดเบียนง่ายขึ้น

คลิกอ่านเพิ่มเติม : รวม 12 อุปกรณ์ดูแลผู้สูงอายุ และผู้สูงอายุติดเตียงที่บ้าน ที่มีความสำคัญ ช่วยให้มีคุณภาพชีวิตดีขึ้น

ผู้สูงอายุควรนอนวันละกี่ชั่วโมง ?

สำหรับผู้สูงอายุหรือคนที่มีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไปควรนอนหลับพักผ่อนให้ได้วันละ 7-8 ชั่วโมง การนอนหลับพักผ่อนที่ไม่เพียงพอมีความเสี่ยงทำให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ เข้ามาเบียดเบียนได้ง่ายโดยเฉพาะโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวานความดันโลหิตสูง นอกจากนั้นยังส่งผลกระทบต่อระบบประสาทความคิด ความจำ ทำให้สูญเสียประสิทธิภาพในการทำงานหรือการทำกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวัน

วิธีแก้อาการนอนไม่หลับในผู้สูงอายุ

วิธีแก้อาการนอนไม่หลับในผู้สูงอายุ

1.ทานอาหารที่มีประโยชน์

หลีกเลี่ยงปัญหานอนไม่หลับด้วยการงดเครื่องดื่มสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ รวมไปถึงเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน พวกชา กาแฟต่างๆ และงดการสูบบุหรี่หันมารับประทานอาหารที่ดีและมีประโยชน์ทานอาหารให้ครบถ้วนทั้ง 5 หมู่ เน้นทานผักและผลไม้ที่มีไฟเบอร์สูงช่วยเรื่องระบบการย่อย ช่วยป้องกันภาวะท้องผูก

2.ไม่ดื่มน้ำก่อนเข้านอน

ไม่ควรดื่มน้ำก่อนเข้านอน โดยหลีกเลี่ยงการดื่มน้ำเยอะๆ ในช่วงเวลาประมาณ 4-5 ชั่วโมงก่อนเข้านอนควรจิบน้ำเล็กน้อยเพื่อแก้กระหายเนื่องจากการดื่มน้ำในปริมาณมากก่อนเข้านอนอาจทำให้ผู้สูงอายุต้องลุกขึ้นมาปัสสาวะบ่อยๆ กลางดึกและส่งผลทำให้นอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ ยิ่งผู้สูงอายุที่มีปัญหานอนหลับยากเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ยิ่งต้องระวังถ้าหากลุกขึ้นมาปัสสาวะแล้วอาจทำให้นอนต่อไม่ได้เลย

3.ไม่ควรซื้อยามาทานเอง

ผู้สูงอายุหลายคนมักซื้อยามารับประทานเอง ซื้อยาจากร้านขายยาทั่วไป ยาบางชนิดอาจออกฤทธิ์ตกค้างในร่างกายนานกว่าปกติและส่งผลกระทบในด้านอื่นๆ เนื่องจากผู้สูงอายุมีระบบเผาผลาญที่ทำงานได้ไม่มีประสิทธิภาพเหมือนคนวัยหนุ่มสาวผลข้างเคียงจากการรับประทานยาบางชนิดอาจทำให้ผู้สูงอายุนอนไม่หลับได้ ทางที่ดีควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยา

ผู้สูงอายุนอนไม่หลับให้กำหนดเวลาเข้านอน และตื่นนอน

4.กำหนดเวลาเข้านอน และตื่นนอน

ข้อนี้สำคัญมากควรมีการกำหนดเวลาเข้านอนแล้วตื่นนอนที่ชัดเจนและทำเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ จนร่างกายเกิดความคุ้นชิน หลีกเลี่ยงการนอนหลับในช่วงตอนกลางวันโดยเฉพาะหลัง 15:00 น เป็นต้นไป ในกรณีที่ผู้สูงอายุเข้านอนแล้วแต่ยังไม่ง่วงหรือช่วงแรกๆ ที่พยายามปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไม่ควรฝืนร่างกายหากนอนไม่หลับควรลุกขึ้นมาหากิจกรรมต่างๆ ทำ เช่น อ่านหนังสือธรรมะ สวดมนต์ก่อนนอน เป็นต้น

5.หากิจกรรมเคลื่อนไหวร่างกาย

ในตอนกลางวันควรหากิจกรรมต่างๆ ทำเพื่อให้ร่างกายได้เคลื่อนไหวหรือออกกำลังกายอย่างเหมาะสม หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายแบบหักโหมในช่วงตอนเย็น การทำกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้ร่างกายได้เคลื่อนไหวช่วยกระตุ้นให้ร่างกายตื่นตัวในตอนกลางวันป้องกันการงีบหลับในช่วงกลางวันได้เพราะการงีบหลับในตอนกลางวันอาจทำให้ตอนกลางคืนนอนไม่หลับอีกต่อไป รวมถึงหลีกเลี่ยงการอยู่ในห้องมืดตอนกลางวันเพื่อให้ร่างกายรับรู้และสามารถแยกแยะได้ว่าตอนนี้เป็นตอนกลางวันหรือตอนกลางคืนควรเปิดม่านรับแสงเพื่อให้มีแสงสว่างผ่านเข้ามา

ผู้สูงอายุนอนไม่หลับให้ทำจิตใจให้ผ่อนคลาย

6.ทำจิตใจให้ผ่อนคลาย

ผู้สูงอายุหลายคนมีปัญหานอนไม่หลับเนื่องจากเกิดความเครียดสะสมหรือเกิดความวิตกกังวล ดังนั้น ควรหากิจกรรมต่างๆ ทำเพื่อทำให้จิตใจผ่อนคลาย อย่างเช่น การฝึกนั่งสมาธิ การเข้าวัดทำบุญหรือการออกไปพบปะกับเพื่อนๆ วัยเดียวกันเพื่อแชร์ประสบการณ์บอกเล่าเรื่องราวต่างๆ ด้วยกัน เป็นต้น ในขณะที่ลูกหลานเองควรอยู่ดูแลผู้สูงอายุอย่างใกล้ชิด ไม่ปล่อยทิ้งให้โดดเดี่ยวไม่คิดว่าผู้สูงอายุเป็นภาระในครอบครัว วันหยุดอาจพาผู้สูงอายุไปทำกิจกรรมข้างนอกหรือหากิจกรรมทำร่วมกัน พาผู้สูงอายุออกไปเที่ยวบ้างเพื่อให้ผู้สูงอายุผ่อนคลาย

7.จัดสภาพแวดล้อมในห้องนอนให้เหมาะสม

ผู้ดูแลหรือบุตรหลานต้องทำความสะอาดห้องนอนของผู้สูงอายุเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้มีสุขอนามัยที่ดี จัดสภาพห้องนอนให้เหมาะสมน่าอยู่ทำให้มีบรรยากาศที่ดีเพื่อให้ผู้สูงอายุผ่อนคลายนอนหลับสบายมากขึ้น สำหรับผู้สูงอายุที่ป่วยติดเตียงควรให้ผู้สูงอายุได้นอนบนเตียงผู้ป่วยที่ออกแบบมาสำหรับผู้ป่วยโดยเฉพาะ อย่างเช่น เตียงนอนไฟฟ้าสามารถปรับท่าทางต่างๆ ได้ง่ายทำให้ผู้สูงอายุผ่อนคลายมากขึ้น

ผู้สูงอายุนอนไม่หลับเกิดจากสาเหตุใด ผู้สูงอายุนอนไม่หลับทำอย่างไรดี ทั้งหมดนี้เป็นแนวทางดีๆ ที่เราเอามาฝากสำหรับคนที่ต้องดูแลผู้สูงอายุที่บ้านสามารถนำไปปฏิบัติตามกันได้เลย โดยเฉพาะการจัดสภาพแวดล้อมในห้องนอนให้เหมาะสม รวมถึงการเลือกเตียงนอนให้กับผู้สูงอายุก็เป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างมาก เพราะเตียงนอนที่ดีนอกจากจะช่วยให้มีสุขภาพการนอนที่ดีแล้ว ก็ยังช่วยลดโอกาสเกิดอุบัติเหตุหรืออาการแทรกซ้อนจากโรคได้อีกด้วย

ซึ่งปัจจุบันที่ได้รับความนิยมจะเป็นเตียงไฟฟ้า ที่สามารถปรับระดับของเตียงได้ง่ายด้วยรีโมทคอนโทรลหรือแผงควบคุม ช่วยให้ปรับท่าทางต่างๆ ของผู้สูงอายุให้อยู่ในท่าที่เหมาะสม ให้รู้สึกผ่อนคลายและสบายมากขึ้น สามารถนอนหลับได้ง่ายและหลับสนิทมากยิ่งขึ้น สำหรับใครที่สนใจเตียงผู้สูงอายุหรือเตียงผู้ป่วยไฟฟ้าไปใช้งาน ก็สามารถสั่งซื้อกับ Modernform Health & Care ได้เลย รับรองว่าได้สินค้าที่มีคุณภาพ ของแท้ 100% ในราคาที่ไม่แพง พร้อมการรับประกันสินค้า

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมเตียงผู้ป่วย Modernform Health & Care : คลิกที่นี่

เตียงผู้ป่วย Modernform Healthcare

สามารถคลิกดูเตียงผู้ป่วย เตียงผู้สูงอายุ Modernform Healthcare แบบต่าง ๆ ได้ที่นี่ พร้อมให้คำแนะนำเกี่ยวกับการเลือกเตียงผู้ป่วยในแบบที่เหมาะสมที่สุดแบบฟรี ๆ ไม่มีค่าใช้จ่ายเพิมเติมผ่านทาง Line หรือ โทรติดต่อ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และโฆษณา

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลวส่วนบบุคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ Cookies ที่เราใช้งานได้แก่ Google Analytics และ Facebook Pixel

Save