ผู้ป่วยติดเตียงไม่มีคนดูแล
ปัญหาผู้ป่วยติดเตียง ผู้ป่วยเรื้อรัง หรือผู้สูงอายุ ผู้พิการนอนป่วยติดเตียง ไม่มีคนดูแล กลายเป็นปัญหาใหญ่ที่สร้างความหนักใจให้กับผู้ป่วย รวมถึงบุตรหลานที่ไม่มีเวลาดูแล เพราะต้องหาเช้ากินค่ำหรือทำงานหนักจนไม่มีเวลา การดูแลผู้ป่วยติดเตียงบางครั้งยากและเหนื่อยกว่าการรักษา ผู้เตียงติดเตียงบางรายช่วยเหลือตนเองได้เล็กน้อย บางรายนอนป่วยติดเตียงไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้เลย เช่น ผู้ป่วยอัมพฤกษ์ อัมพาต ไม่สามารถขยับร่างกายได้ บางรายไม่รู้สึกตัวจัดอยู่ในกลุ่มผู้ป่วยติดเตียงสีแดง มีความบกพร่องทางด้านร่างกายรุนแรง
ปัญหาที่เจอได้บ่อยเมื่อผู้ป่วยติดเตียงไม่มีคนดูแล
เมื่อผู้ป่วยติดเตียงไม่ได้รับการดูแลอย่างถูกวิธี ไม่มีผู้ดูแลอย่างใกล้ชิด อาจทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมามากมาย ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยติดเตียง ปัญหาที่พบบ่อยที่สุด คือ แผลกดทับ ผู้ป่วยติดเตียงที่นอนท่าเดิมตลอดทั้งวัน หากไม่พลิกตัวผู้ป่วยอย่างสม่ำเสมอ มีโอกาสเกิดแผลกดทับได้สูง เมื่อกดทับติดเชื้อรุนแรง ผู้ป่วยอาจเสียชีวิตได้
คลิกอ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม
- การป้องกันแผลกดทับ ในผู้ป่วยและผู้สูงอายุสำคัญอย่างไร
- เตียงสำหรับผู้ป่วยแผลกดทับ ควรมีลักษณะอย่างไร
- การดูแลแผลกดทับไม่ให้ลุกลาม ทำอย่างไร ?
ผู้ป่วยติดเตียงจำเป็นต้องมีคนดูหรือไม่
การดูแลผู้ป่วยติดเตียงกลุ่มสีเขียว
ผู้ป่วยติดเตียงกลุ่มสีเขียว : กลุ่มนี้อาการยังไม่หนักมาก สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้ ช่วยเหลือตนเองในเบื้องต้นได้ ทำกิจวัตรประจำวันได้บางอย่างอาจไม่ต้องมีคนดูแลตลอด 24 ชั่วโมง
อย่างไรก็ตามควรจัดหาอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่อำนวยความสะดวกเมื่อผู้ป่วยต้องอยู่คนเดียว เช่น เก้าอี้นั่งถ่าย วีลแชร์ เตียงผู้ป่วยที่สามารถปรับระดับ หรือปรับเปลี่ยนท่าทางต่าง ๆ ได้ ทำให้ผู้ป่วยช่วยเหลือตนเองได้สะดวกขึ้นและอำนวยความสะดวกให้กับผู้ดูแลด้วย
การดูแลผู้ป่วยติดเตียงผู้ป่วยติดเตียงกลุ่มสีเหลือง
ผู้ป่วยติดเตียงกลุ่มสีเหลือง : เช่น ผู้ป่วยที่มีภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรง เคลื่อนไหวร่างกายลำบาก พลิกตัวไม่ได้ เป็นต้น ควรได้รับการดูแลเป็นพิเศษ หากผู้ดูแลไม่ค่อยมีเวลาสักเท่าไหร่ ควรจัดหาอุปกรณ์ที่ตอบโจทย์ เช่น เตียงผู้ป่วยไฟฟ้า เพื่อให้ปรับท่าทางได้ง่าย ๆ ด้วยรีโมทไม่ต้องออกแรงหมุน เพื่อให้ผู้ป่วยนอนบนที่นอนป้องกันการเกิดแผลกดทับ
คลิกอ่านเพิ่มเติม : อุปกรณ์ช่วยพลิกตัวผู้ป่วยติดเตียง มีอะไรบ้าง ?
การดูแลผู้ป่วยติดเตียงผู้ป่วยติดเตียงกลุ่มสีแดง
ผู้ป่วยติดเตียงกลุ่มสีแดง : เป็นผู้ป่วยที่มีอาการหนัก บางรายนอนไม่รู้สึกตัว ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้เลย จำเป็นต้องใช้เครื่องช่วยหายใจหรือให้อาหารทางสายยาง การปล่อยให้ผู้ป่วยอยู่คนเดียวไม่ใช่วิธีที่ถูกต้อง หากไม่มีเวลาอาจต้องจ้างผู้เชี่ยวชาญมาดูแลผู้ป่วยติดเตียงที่บ้าน หรือใช้บริการรับดูแลผู้ป่วยติดเตียงจากสถานบริการต่าง ๆ
ผู้ป่วยติดเตียงไม่มีคนดูแล สามารถดูแลคนเดียวได้ไหม
ในการดูแลผู้ป่วยติดเตียงทุกกลุ่ม สามารถดูแลผู้ป่วยติดเตียงคนเดียวได้ ซึ่งผู้ป่วยติดเตียงกลุ่มสีเหลืองและกลุ่มสีแดงไม่ควรอยู่คนเดียว ควรมีผู้ดูแลอย่างใกล้ชิดเสมอ
ส่วนการดูแลผู้ป่วยติดเตียงกลุ่มสีเขียว สิ่งที่ผู้ดูแลควรทำ คือ การจัดการอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่เหมาะสมและตอบโจทย์ อุปกรณ์ที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้ป่วย ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถดูแลตนเองได้เบื้องต้นไม่จำเป็นต้องพึ่งพาผู้ดูแลตลอด 24 ชั่วโมง
แต่การดูแลผู้ป่วยติดเตียงคนเดียว จำเป็นต้องใช้เวลาในการดูแลและเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด จนสามารถพูดได้ว่าใช้เวลาทั้งวันก็ยังได้
หากคุณไม่ต้องมีหน้าที่รับผิดชอบด้านอื่น ๆ ในบ้าน การดูแลผู้ป่วยติดเตียงคนเดียวจึงสามารถทำได้ แต่หากคุณมีหน้าที่อื่น ๆ ที่ต้องรับผิดชอบ เช่น ต้องทำงานหาเงินเข้าบ้าน การหาผู้เชี่ยวชาญโดยตรงมาช่วยดูแลผู้ป่วยติดเตียง จะดีกว่าการที่คุณดูแลผู้ป่วยติดเตียงคนเดียว
คลิกอ่านเพิ่มเติม : การดูแลสภาพจิตใจผู้ป่วยติดเตียง สำคัญอย่างไร
ผู้ป่วยติดเตียงไม่มีคนดูแล ต้องทำอย่างไร
1.ดูแลผู้ป่วยติดเตียงด้วยตัวเอง
สำหรับคนที่มีเวลาไม่ได้ทำงานประจำ คุณสามารถดูแลผู้ป่วยติดเตียงด้วยตนเองได้ เริ่มต้นจากการทำความสะอาดห้องนอนผู้ป่วย จัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม ดูแลความสะอาดของร่างกายและช่องปากผู้ป่วย ที่สำคัญหมั่นพลิกตัวผู้ป่วยติดเตียงหรือปรับเปลี่ยนท่านอนในทุก ๆ 2-3 ชั่วโมง เพื่อป้องกันการเกิดแผลกดทับ พร้อมจัดเตรียมอุปกรณ์ที่จำเป็นในการดูแลผู้ป่วยติดเตียง เช่น เตียงนอนผู้ป่วยแบบหมุนด้วยมือ เตียงนอนผู้ป่วยไฟฟ้า ที่นอนป้องกันแผลกดทับ รถเข็นอาบน้ำ รถเข็นนั่งถ่าย วีลแชร์ เป็นต้น
คลิกอ่านเพิ่มเติม : วิธีการป้อนอาหารผู้ป่วยติดเตียง อย่างถูกต้อง
2.จ้างผู้เชี่ยวชาญมาดูแลผู้ป่วยติดเตียงที่บ้าน
หากคุณไม่มีเวลา หรือต้องทำงานประจำ ไม่ควรปล่อยผู้ป่วยติดเตียงไว้ที่บ้านคนเดียว หากผู้ป่วยไม่ได้รับการดูแลอย่างถูกต้อง เสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนหรืออาจเกิดอันตรายต่อผู้ป่วยได้ รวมถึงปัญหาสุขภาพจิตด้วย
แนะนำจ้างผู้เชี่ยวชาญมาดูแลผู้ป่วยติดเตียงที่บ้าน หรือใช้บริการดูแลผู้สูงอายุ และคนไข้ป่วยติดเตียง เลือกผู้เชี่ยวชาญที่ไว้ใจได้หรือเป็นพยาบาลวิชาชีพ ทำงานถูกหลักพยาบาล ราคาค่าบริการส่วนมากคิดเป็นชั่วโมงประมาณ 200-400/ชั่วโมง
3.ใช้บริการรับดูแลผู้ป่วยติดเตียงจากสถานบริการ
หากคุณไม่มีเวลาดูแลผู้ป่วยติดเตียงอาจใช้บริการรับดูแลผู้ป่วยติดเตียงจากสถานบริการต่าง ๆ โดยส่งผู้ป่วยไปที่สถานดูแลหรือบ้านพัก ซึ่งจะมีผู้ดูแลให้อย่างดี ผู้ดูแลมีความเชี่ยวชาญในการดูแลผู้ป่วยติดเตียง มีความรู้ ความเข้าใจ ปฏิบัติอย่างถูกต้อง มีอุปกรณ์ผู้ป่วยติดเตียงอำนวยความสะดวกความสบายแบบครบครัน ค่าใช้จ่ายส่วนมากคิดเป็นรายเดือน เช่น ห้องพัก 4 คน ราคา 33,000 บาทต่อเดือน ห้องพัก 8 คน ราคาประมาณ 30,000 บาทต่อเดือน เป็นต้น
คลิกอ่านเพิ่มเติม : เตียงสำหรับผู้ป่วยแผลกดทับ ควรมีลักษณะอย่างไร
ข้อควรระวังเกี่ยวกับการที่ผู้ป่วยติดเตียงไม่มีคนดูแล
ในกรณีที่ผู้ป่วยติดเตียงต้องอยู่คนเดียว ไม่มีคนดูแลหรือผู้ดูแลอาจไม่ได้อยู่ดูแลผู้ป่วยตลอด 24 ชั่วโมง สิ่งที่ต้องระวังมีหลายอย่าง เช่น ผู้ป่วยขาดสารอาหาร ไม่ได้รับโภชนาการที่ดี การสำลักอาหาร ผู้ป่วยพลัดตกเตียง ในกรณีที่ผู้ป่วยต้องให้ออกซิเจนหรือให้อาหารทางสายยางหากเครื่องทำงานผิดพลาดมีอันตรายมาก ปัญหาแผลกดทับเป็นสิ่งที่ต้องระวังมากที่สุด รวมถึงการติดเชื้อและเรื่องของสุขอนามัยด้วย
คลิกอ่านเพิ่มเติม : อาหารผู้ป่วยติดเตียง ที่ควรทาน มีอะไรบ้าง
ผู้ป่วยติดเตียง ไม่คนดูแล ต้องรับมืออย่างไร ทั้งหมดนี้ Modernfrom Health Care หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะเป็นแนวทางดี ๆ ให้ทุกคนได้ บางครั้งคุณต้องทำงานหนักหรือทำงานประจำไม่ค่อยมีเวลาแต่ในบ้านของคุณมีผู้ป่วยติดเตียง โดยเฉพาะผู้สูงอายุ คุณควรวางแผนรับมือให้ดี หาคนมาดูแลที่บ้าน หรือใช้บริการรับดูแลผู้ป่วยติดเตียงจากสถานบริการต่าง ๆ เพื่อให้ผู้ป่วยติดเตียงได้รับการดูแลอย่างถูกต้องมากที่สุด