ผู้ป่วยติดเตียง คืออะไร ? มีกี่ประเภท สาเหตุมาจากอะไร ลักษณะอาการและแนวทางการรักษาเป็นอย่างไร

ผู้ป่วยติดเตียง คืออะไร การรักษาและดูแลต้องทำอย่างไร

ผู้ป่วยติดเตียง คืออะไร ?

ผู้ป่วยติดเตียง คือ ผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บป่วยเรื้อรัง จนไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกาย ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเอง และไม่สามารถลุกนั่งหรือลุกเดินได้ตามปกติ ต้องนอนพักรักษาตัวอยู่บนเตียงตลอดเวลา ในปัจจุบันผู้ป่วยติดเตียงถือว่ามีหลายประเภท ทั้ง เด็ก ผู้ใหญ่ ไปจนถึง ผู้สูงอายุติดเตียง ส่วนของสาเหตุที่ทำให้เป็นผู้ป่วยติดเตียง ก็มาจากหลายสาเหตุ ส่วนใหญ่เกิดจากโรคต่างๆ เช่น อัมพฤกษ์ อัมพาต โรคพาร์กินสัน นอกจากนี้ผู้ที่ผ่านการประสบอุบัติเหตุ ผ่านการผ่าตัดใหญ่ ก็มีโอกาสเป็นผู้ป่วยติดเตียงได้เช่นเดียวกัน

ผู้ป่วยติดเตียง มีกี่ประเภท ?

ปัจจุบันผู้ป่วยติดเตียงถูกแบ่งออกเป็นกลุ่ม และแบ่งออกเป็นประเภทต่างๆ โดยประเภทผู้ป่วยติดเตียงจะแบ่งได้เป็น 3 ระดับ ดังนี้

1.ผู้ป่วยติดเตียงกลุ่มสีเขียว

ผู้ป่วยติดเตียงในกลุ่มสีเขียว เป็นผู้ป่วยติดเตียงระดับแรก อยู่ในระยะเริ่มต้นไปถึงปานกลาง จัดว่าเป็นกลุ่มที่ยังไม่ได้มีอาการหนักมากนัก เพราะยังสามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้บ้าง ดูแลตัวเองได้บ้าง สามารถทำกิจกรรมประจำวันได้เองหลายอย่าง โดยไม่จำเป็นต้องรับช่วยเหลือจากบุคลากรทางการแพทย์หรือพยาบาล แต่ถึงอย่างนั้นผู้ป่วยติดเตียงกลุ่มสีเขียวก็อาจมีภาวะทางสมอง หรือกล้ามเนื้อ ที่ต้องได้รับการดูแล และติดตามอย่างสม่ำเสมอ

2.ผู้ป่วยติดเตียงกลุ่มสีเหลือง

ผู้ป่วยติดเตียงในกลุ่มสีเหลือง เป็นผู้ป่วยติดเตียงที่สุขภาพร่างกายไม่แข็งแรง มีภาวะอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง ไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้ หรืออาจจะเคลื่อนไหวร่างกายได้บ้างบางส่วน ผู้ป่วยกลุ่มนี้มักจะมีภาวะอาการอัมพฤกษ์ จึงจำเป็นต้องนอนติดเตียงเป็นเวลานานๆ ทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับ เสี่ยงต่อการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะและทางเดินอาหาร ดังนั้นผู้ป่วยกลุ่มสีเหลืองจึงต้องมีการดูแลเป็นพิเศษ เพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน และเพื่อดูแลรักษาสุขภาพให้ดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

3.ผู้ป่วยติดเตียงกลุ่มสีแดง

ผู้ป่วยติดเตียงในกลุ่มสีแดง คือ ผู้ป่วยอัมพาตที่ไม่สามารถขยับร่างกาย ไม่สามารถพลิกตัว หรือลุกขึ้นนั่งเองได้ อีกทั้งยังไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกาย ไม่รู้สึกตัว จัดว่าเป็นผู้ป่วยที่มีความบกพร่องทางร่างกายขั้นรุนแรง ต้องนอนอยู่บนเตียงผู้ป่วยอยู่ตลอดเวลา เพื่อรักษาสภาพร่างกายและอาการที่มีอยู่ ดังนั้นผู้ป่วยกลุ่มสีแดงจึงจำเป็นต้องได้รับการดูแลทั้งจากผู้ดูแล และจากบุคลากรทางการแพทย์อย่างใกล้ชิด

ป่วยติดเตียง เกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง

ป่วยติดเตียง เกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง

สาเหตุที่หลักๆ ที่ทำให้เกิดภาวะป่วยติดเตียง คือเกิดจากการเจ็บป่วยที่ทำให้สูญเสียความสามารถในการเคลื่อนไหว ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้จากโรคต่างๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดสมองแตก หรือโรคหัวใจ และอาจเกิดได้จากอุบัติเหตุอย่างรุนแรง โดยที่ผู้ป่วยการได้รับบาดเจ็บที่สมอง บาดเจ็บที่กระดูกสันหลัง หรืออาจเกิดจากการติดเชื้อในกระแสเลือด หรือภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ จนทำให้ร่างกายไม่สามารถเคลื่อนไหวได้

อาการของผู้ป่วยและผู้สูงอายุติดเตียง

ผู้ป่วยและผู้สูงอายุติดเตียง มักจะแสดงอาการออกมาให้เห็นอย่างชัดเจน ตั้งแต่การนอนติดเตียงทั้งวัน ไปไหนมาไหนไม่ได้ ไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้ตามปกติ อีกทั้งผู้ป่วยติดเตียงและผู้สูงอายุเตียงส่วนใหญ่ ยังไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ถ้าช่วยเหลือตัวเองได้ก็อาจจะทำได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น นอกจากนี้คนไข้ติดเตียงยังไม่สามารถเดินได้ จึงต้องมีคนคอยดูแล คอยให้การช่วยเหลือในเรื่องต่างๆ อยู่ตลอดเวลา

ผู้ป่วยติดเตียงมีโอกาสหายไหม ?

ในทางการแพทย์ ยังไม่ได้มีการยืนยันว่าผู้ป่วยติดเตียงจะกลับมาหาย หรือกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติ เพราะโอกาสในการหายของผู้ป่วยติดเตียงจะต้องขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง ตั้งแต่อาการของผู้ป่วย โรคที่ผู้ป่วยเป็นอยู่ อายุ สภาพทางกายภาพของผู้ป่วย รวมไปถึงการรักษาและการดูแลสุขภาพร่างกายของผู้ป่วย ดังนั้นจึงยังไม่สามารถบอกได้ว่าผู้ป่วยติดเตียงจะหายได้หรือไม่ แต่ถึงอย่างนั้นการดูแลสุขภาพร่างกายของผู้ป่วย และการรักษาที่เหมาะสม ก็ยังเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้ผู้ป่วยติดเตียงมีโอกาสหายได้

ผู้ป่วยติดเตียง มีแนวทางการรักษาและดูแลอย่างไร

ผู้ป่วยติดเตียง มีแนวทางการรักษาและดูแลอย่างไร

การรักษาและการดูแลผู้ป่วยติดเตียง จะต้องรักษาอย่างถูกวิธี ต้องมีการดูแลความสะอาดให้กับผู้ป่วยอยู่ตลอดเวลา เพื่อป้องกันการเกิดโรค และป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ นอกจากนี้ยังควรดูแลสุขภาพของผู้ป่วยให้ดี ควรมีการพลิกตัวผู้ป่วยบ่อยๆ เพื่อป้องกันการเกิดแผลกดทับ และควรตรวจสอบสภาพร่างกายของผู้ป่วย เพื่อดูว่าผู้ป่วยมีภาวะแทรกซ้อนอะไรเกิดขึ้นหรือไม่ และถ้าจะให้ดีควรมีการดูแลสภาพจิตใจของผู้ป่วย เพื่อให้ผู้ป่วยมีสภาพจิตใจที่ดี เพราะเมื่อผู้ป่วยมีสภาพจิตใจที่ดี สุขภาพร่างกายของผู้ป่วยก็จะดีตามไปด้วย

คลิกอ่านเพิ่มเติม : รวม 8 อุปกรณ์ผู้ป่วยติดเตียง ที่จำเป็นในการช่วยเหลือและดูแลผู้ป่วยติดเตียง

ผู้ป่วยติดเตียงนั้นเป็นผู้ป่วยที่ต้องนอนติดเตียงอยู่ตลอดเวลา ไม่สามารถลุกจากเตียงได้ เนื่องจากอาการเจ็บป่วย หรือความพิการ ทำให้ผู้ป่วยติดเตียงต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน เช่น แผลกดทับ ลิ่มเลือด ปอดบวม และกล้ามเนื้อลีบ นอกจากนี้ผู้ป่วยติดเตียงต้องได้รับความช่วยเหลือเกี่ยวกับการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การอาบน้ำ การให้อาหาร และการเข้าห้องน้ำ ซึ่งต้องมีแนวทางการรักษาและดูแลที่ถูกต้อง เพื่อให้ผู้ป่วยติดเตียงมีสุขภาพร่างกายและชีวิตที่ดีขึ้น

สำหรับสถานพยาบาล หรือบ้านเรือนต่างๆ ที่ต้องการเตียงผู้ป่วยไว้ดูแลผู้ป่วยติดเตียง ขอแนะนำเตียงผู้ป่วยจาก Modernform Health & Care เพราะเป็นเตียงที่มีคุณภาพ มีความปลอดภัยสูง ให้ความสะดวกสบายในการดูแลผู้ป่วยติดเตียง เป็นเตียงผู้ป่วยไฟฟ้าที่ถูกออกแบบมาเพื่อช่วยในการจัดตำแหน่ง ปรับระดับของเตียง รวมไปถึงเคลื่อนย้ายผู้ป่วย ทำให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลที่ดี ได้พักผ่อนและพักฟื้นร่างกายอย่างมีประสิทธิภาพ

เตียงผู้ป่วย Modernform Healthcare

สามารถคลิกดูเตียงผู้ป่วย เตียงผู้สูงอายุ Modernform Healthcare แบบต่าง ๆ ได้ที่นี่ พร้อมให้คำแนะนำเกี่ยวกับการเลือกเตียงผู้ป่วยในแบบที่เหมาะสมที่สุดแบบฟรี ๆ ไม่มีค่าใช้จ่ายเพิมเติมผ่านทาง Line หรือ โทรติดต่อ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และโฆษณา

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลวส่วนบบุคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ Cookies ที่เราใช้งานได้แก่ Google Analytics และ Facebook Pixel

Save