ผู้ป่วยติดเตียงมือบวม
การที่ผู้ป่วยติดเตียงมือบวมนับว่าเป็นอีกภาวะแทรกซ้อนที่พบเจอได้คล้าย ๆ กับการเกิดอาการแผลกดทับ เนื่องจากผู้ป่วยติดเตียงส่วนใหญ่จะไม่สามารถขยับหรือเคลื่อนไหวร่างกายได้แบบคนปกติ ทำให้เมื่อเวลานอนติดเตียงเป็นเวลานานจึงมีแนวโน้มสูงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ตามมา
ซึ่งอาการที่พบได้บ่อยอีกอย่าง คือ การที่ผู้ป่วยติดเตียงมือบวม ทำให้ญาติหรือผู้ดูแลเกิดความกังวลใจว่าเป็นอันตรายต่อผู้ป่วยติดเตียงหรือไม่ ในบทความนี้จะมาบอกสาเหตุว่าการที่ผู้ป่วยติดเตียงมือบวมเกิดจากอะไร และหากเกิดอาการเหล่านี้เราจะต้องดูแลผู้ป่วยติดเตียงมือบวมอย่างไรบ้าง
ผู้ป่วยติดเตียงมือบวม เกิดจากสาเหตุอะไร
อาการมือบวมโดยทั่วไปเกิดขึ้นได้จากหลากหลายสาเหตุ เช่น เกิดจากอุบัติเหตุหรือแมลงสัตว์กัดต่อย แต่สำหรับผู้ป่วยติดเตียงหรือในกลุ่มผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ส่วนใหญ่แล้วมักพบว่าการที่ผู้ป่วยติดเตียงมือบวมมาจากปัญหาในเรื่องของการขับน้ำในร่างกายออกได้ไม่ดี อย่างเช่นเหงื่อหรือปัสสาวะ ทำให้ร่างกายของผู้ป่วยติดเตียงนั้นมีปริมาณน้ำเกินจนมีความผิดปกติ
โดยส่วนใหญ่มักเจอผู้ป่วยติดเตียงมือบวมที่มีปัญหาเกี่ยวกับไตหรือไตเสื่อม เพราะไตถือเป็นอวัยวะสำคัญอย่างหนึ่งที่ขึ้นชื่อในเรื่องของการขับของเสียออกจากร่างกาย นั่นหมายความว่าหากอวัยวะส่วนนี้ทำงานได้บกพร่อง ปัญหาเหล่านี้ก็จะตามมาได้ โดยโรคไตเสื่อมนี้ส่วนใหญ่มาจากพฤติกรรมการกินหรือด้วยอายุที่สูงขึ้นได้เช่นกัน
คลิกอ่านเพิ่มเติม : ภาวะแทรกซ้อนผู้ป่วยติดเตียง ที่ต้องระวังในการดูแลและฟื้นฟูผู้ป่วยติดเตียง
ผู้ป่วยติดเตียงมีอาการมือบวม อันตรายหรือไม่
อาการมือเท้าบวมถือว่าเป็นเรื่องปกติที่จะพบเจอได้ในกลุ่มผู้อายุ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วหากเรามีการติดตามอาการอย่างใกล้ชิด คอยสังเกตถึงความผิดปกติและระมัดระวังมากพออาการเหล่านี้ก็จะสามารถหายไปได้เองในระยะเวลาที่สมควร
แต่ถ้าหากละเลยอาการ ยิ่งในผู้ป่วยที่สามารถเคลื่อนไหวได้เล็กน้อย หรือนอนอยู่ได้แค่ที่เตียงผู้ป่วยไฟฟ้าเท่านั้น ก็จะสามารถทำให้เกิดการบาดเจ็บจากการเคลื่อนไหวได้ หรืออาการมือบวมในผู้ป่วยติดเตียงที่ไม่สามารถทช่วยเหลือตนเองได้เลย หากอยู่ในบริบทเดิมเป็นระยะเวลานาน ๆ และมีการเกิดแผลกดทับ สิ่งนี้ก็จะสามารถลุกลามจากแผลขนาดเล็กจนสามารถเกิดการติดเชื้อได้ จนมีอันตรายร้ายแรงได้เลยเช่นกัน
ดังนั้นควรที่จะต้องใส่ใจในการตรวจสอบอาการ และผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นกับกลุ่มคนเปราะบางเหล่านี้อย่างชิด เพื่อระวังไม่ได้เกิดอาการที่รุนแรงตามมา
วิธีการดูแลผู้ป่วยติดเตียงมือบวม ต้องทำอย่างไร
1.สังเกตอาการมือบวมในผู้ป่วยติดเตียงด้วยตาเปล่า
หมั่นสังเกตขนาดและลักษณะภายนอกของผู้ป่วยในความดูแลอย่างใกล้ชิด หากพบว่ามีความผิดปกติของมือ เท้า ควรรีบพบแพทย์หรือตรวจสอบอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย
2.ลองทดสอบอาการมือบวมผู้ป่วยติดเตียงด้วยการกด
บางครั้งการที่ผู้ป่วยติดเตียงมือบวมอาจจะเป็นการบวมทั่วไปชนิดที่สามารถหายได้เอง แต่หากลองกดลงไปบนบริเวณที่มีการบวม แล้วพบว่ารอยที่เรากดลงไปนั้นเกิดบุ๋ม และไม่สามารถคืนตัวได้เองในระยะเวลาอันสั้น นั่นหมายความว่ามีปริมาณน้ำส่วนเกิน ที่ร่างกายผู้ป่วยไม่สามารถกำจัดออกเองได้ จึงทำให้เกิดการบวมในผู้ป่วยติดเตียงขึ้น
3.สังเกตอาการที่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วย
หากเราพบว่าผู้ป่วยติดเตียงมีโรคที่มีความสุ่มเสี่ยงอย่างโรคไต หรือมีพฤติกรรมเสี่ยงก็ควรจะต้องระมัดระวังไว้เป็นพิเศษ ซึ่งหากผู้ป่วยติดเตียงมือบวมบริเวณนั้นจะมีความบวม ดูวาว ผิวหนังจะดูบาง และมีความตึง เป็นลักษณะเหมือนเซลล์ที่อิ่มน้ำ หากพบอาการนี้ควรรีบปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ
4.ควรขยับตัวผู้ป่วยและเปลี่ยนอิริยาบถอยู่เสมอ ๆ
นอกจากที่จะสามารถลดความเสี่ยงในการเกิดอาการแทรกซ้อนอื่น ๆ แล้ว ยังช่วยให้ผู้ป่วยไม่เครียด ซึ่งการพลิกตัวผู้ป่วยติดเตียงควรทำทุก ๆ 2 ชั่วโมงสลับท่ากันไป เช่น นอนหงาย นอนตะแคง ฯลฯ
คลิกอ่านเพิ่มเติม : อุปกรณ์ช่วยพลิกตัวผู้ป่วยติดเตียง มีอะไรบ้าง ?
5.ขยับมือข้างที่บวมมากขึ้น
การขยับมือหรือการทำกายภาพผู้ป่วยติดเตียงเป็นสิ่งที่สามารถทำได้ แต่ต้องทำอย่างนิ่มนวลและทำตามท่าที่แพทย์สั่ง ซึ่งการบริหารกล้ามเนื้อจะช่วยลดอาการอุดตันของลิ่มเลือด อันเป็นเหตุที่จะนำไปสู่โรคแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้อีกด้วย
6.จัดตำแหน่งของมือหรือเท้าในตำแหน่งที่สูงกว่าหัวใจ
การจัดตำแหน่งของมือหรือเท้าในตำแหน่งที่สูงกว่าหัวใจเช่นนี้ จะช่วยให้เลือดหมุนเวียนได้สะดวกและลดอาการมือเท้าบวมในผู้ป่วยติดเตียงได้
7.งดรับประทานอาหารที่มีโซเดียมสูง
การทานเค็มหรืออาหารที่มีโซเดียมสูงเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคไตไ ด้และที่สำคัญยังช่วยกระตุ้นอาการบวมได้ด้วย ดังนั้นจึงควรงดทานอาหารดังกล่าว หรือหากผู้ป่วยติดเตียงที่มีป่วยรุนแรงก็ควรกินอาหารสำหรับผู้ป่วยติดเตียงโดยตรงตามคำแนะนำของแพทย์
คลิกอ่านเพิ่มเติม : อาหารเสริมผู้ป่วยติดเตียง จำเป็นไหม ?
ผู้ป่วยติดเตียงมือบวม สามารถดูแลให้หายเองได้ไหม
การดูแลผู้ป่วยติดเตียงมือบวมสามารถรักษาให้หายได้เอง หากเราระมัดระวังไม่ให้เกิดอาการแทรกซ้อน เท่านี้ก็ไม่มีอะไรที่ต้องน่าเป็นห่วง
ผู้ป่วยติดเตียงมือบวม จำเป็นต้องไปพบแพทย์ไหม
หากผู้ป่วยติดเตียงมือบวมแล้วไม่หายสักที การพบแพทย์ก็เป็นทางออกที่ดี เพราะแพทย์จะสามารถให้คำแนะนำ และทำการรักษาได้ตรงจุด
สุดท้ายนี้การดูแลผู้ป่วยไม่ว่าจะเป็นกรณีไหน ๆ ต่างก็มีความยากลำบากทั้งนั้น แต่ความยากเหล่านี้จะเบาลงไปหากเรามีความรู้ และความเข้าใจเกี่ยวกับโรคนั้น ๆ เป็นอย่างดี และหวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับคนที่กำลังดูแลผู้ป่วยติดเตียงมือบวมได้ต่อไป
เตียงผู้ป่วย Modernform Healthcare
สามารถคลิกดูเตียงผู้ป่วย เตียงผู้สูงอายุ Modernform Healthcare แบบต่าง ๆ ได้ที่นี่ พร้อมให้คำแนะนำเกี่ยวกับการเลือกเตียงผู้ป่วยในแบบที่เหมาะสมที่สุดแบบฟรี ๆ ไม่มีค่าใช้จ่ายเพิมเติมผ่านทาง Line หรือ โทรติดต่อ