ผู้ป่วยติดเตียงนอนไม่หลับ นอนหลับยาก ควรดูแลอย่างไร ? มีวิธีแก้และป้องกันอย่างไรบ้าง

ผู้ป่วยติดเตียงนอนไม่หลับ เกิดจากอะไร มีวิธีป้องกันอย่างไรบ้าง

ผู้ป่วยติดเตียงนอนไม่หลับ

ผู้ป่วยติดเตียงนอนไม่หลับ เป็นหนึ่งในปัญหาสำคัญที่มักเกิดขึ้นกับผู้ป่วยติดเตียง เนื่องจากปัจจัยหลายอย่าง อาจจะเป็นได้จากคุณภาพการนอนที่ไม่ดี สภาพแวดล้อม หรืออาจเกิดจากสภาพร่างกายของผู้ป่วยเอง สำหรับอาการที่เกิดขึ้นบ่อย คือ การนอนไม่หลับ นอนหลับยาก หรือนอนหลับๆ ตื่นๆ ซึ่งเมื่อผู้ป่วยติดเตียงเกิดอาการเหล่านี้ขึ้น ผู้ป่วยจะมีร่างกายที่อ่อนแอลง พร้อมกับมีปัญหาสุขภาพอื่นๆ ตามมา ดังนั้นการแก้ไขปัญหาการนอนไม่หลับ ให้กับผู้ป่วยติดเตียงจึงเป็นสิ่งที่ควรทำ แต่ก็ต้องทำอย่างถูกต้องและเหมาะสมกับผู้ป่วยที่สุด

สาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยติดเตียงนอนไม่หลับ มีอะไรบ้าง

อาการนอนไม่หลับที่มักจะเกิดขึ้นกับผู้ป่วยติดเตียง มี 2 สาเหตุหลักๆ ดังนี้

1.สาเหตุจากปัจจัยภายใน

  • การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน มักพบได้บ่อยกับผู้ป่วยติดเตียงสูงอายุ และพบได้บ่อยกับผู้ป่วยติดเตียงที่เป็นเพศหญิง เพราะการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนเพศหญิงอย่างการมีประจำเดือนจะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกร้อน และมีเหงื่อออกในเวลากลางคืน ซึ่งอาการเหล่านี้ก็จะไปรบกวนการนอนของผู้ป่วย จนทำให้ผู้ป่วยนอนไม่หลับ
  • การเจ็บป่วย อาการเจ็บป่วยและภาวะแทรกซ้อนจากการนอนติดเตียง ก็เป็นสาเหตุหลักของอาการนอนไม่หลับในผู้ป่วยติดเตียง เพราะอาการเจ็บป่วยจะรบกวนการนอนหลับของผู้ป่วย ทำให้ผู้ป่วยนอนไม่หลับ หรือนอนหลับพักผ่อนไม่ได้อย่างเต็มที่
  • การปวดเมื่อยตามร่างกาย อาการปวดเมื่อยตามร่างกาย ไม่ว่าจะเป็น ปวดเมื่อยที่แขน ปวดเมื่อยที่ขา ปวดเมื่อยที่หลัง หรือปวดเมื่อยที่ข้อต่อต่างๆ ซึ่งทั้งหมดนี้ก็จะไปรบกวนการนอนของผู้ป่วย ทำให้ผู้ป่วยไม่ได้รับความสุขในการนอน และนอนไม่หลับ
  • ความเครียดและความวิตกกังวล เป็นสาเหตุหลักๆ ที่ทำให้ผู้ป่วยนอนไม่หลับ เพราะความเครียด และความวิตกกังวลจะไปรบกวนการทำงานของสมอง ทำให้สมองของผู้ป่วยยังทำงานแม้ในเวลานอนหลับ ทำให้ผู้ป่วยนอนหลับไม่สนิท และทำให้คุณภาพการนอนของผู้ป่วยลดต่ำลง

คลิกอ่านเพิ่มเติม : แผลกดทับ คืออะไร ? อันตรายไหม มีสาเหตุมาจากอะไร

2.สาเหตุจากปัจจัยภายนอก

  • ที่นอนที่แข็งหรือนิ่มเกินไป เป็นหนึ่งในปัจจัยภายนอกที่ทำให้ผู้ป่วยนอนไม่หลับ เพราะเมื่อผู้ป่วยได้นอนบนที่นอนที่นิ่มหรือแข็งเกินไป ผู้ป่วยจะรู้สึกไม่สบายตัว จึงทำให้ผู้ป่วยนอนไม่หลับ หรือนอนหลับยาก
  • แสงสว่างในห้อง แสงสว่างที่จ้า หรือแรงจนเกินไป จะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกไม่สบายตา และทำให้ผู้ป่วยนอนไม่หลับ นอกจากนี้แสงสว่างที่จ้าเกินไปยังทำให้ร่างกายหลั่งเมลาโทนินได้น้อยลง ส่งผลให้ร่างกายผู้ป่วยไม่พร้อมต่อการนอน และเกิดการนอนไม่หลับขึ้น
  • เสียงรบกวน ไม่ว่าจะเป็นเสียงจากในห้อง อย่างเสียงทีวี เสียงโทรศัพท์ จะไปรบกวนการนอนของผู้ป่วย ทำให้ผู้ป่วยนอนไม่หลับ นอกจากนี้เสียงจากนอกห้อง อย่างเสียงรถ เสียงเครื่องบิน ก็ทำให้ผู้ป่วยนอนไม่หลับได้เช่นเดียวกัน
  • อุณหภูมิในห้องที่สูงหรือต่ำเกินไป อุณหภูมิในห้องสูงหรือต่ำเกินไปเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้ผู้ป่วยนอนไม่หลับ ดังนั้นจึงควรปรับอุณหภูมิในห้องให้เหมาะสมกับผู้ป่วย เพื่อให้ผู้ป่วยนอนหลับได้อย่างสบาย
หากผู้ป่วยติดเตียงนอนไม่หลับบ่อยๆ จะส่งผลเสียอย่างไร

หากผู้ป่วยติดเตียงนอนไม่หลับบ่อยๆ จะส่งผลเสียอย่างไร

การนอนไม่หลับบ่อยๆ จะส่งผลเสียต่อสุขภาพและร่างกายของผู้ป่วยติดเตียง โดยจะทำให้ร่างกายของผู้ป่วยอ่อนแอลง ทำให้ประสิทธิภาพการฟื้นฟูร่างกายลดลง และยังทำให้ระบบฮอร์โมนของผู้ป่วยทำงานผิดปกติ ซึ่งก็ส่งผลให้ผู้ป่วยมีภูมิคุ้มกันที่ต่ำ มีการต้านทานการติดเชื้อที่ลดลง และยังทำให้ผู้ป่วยมีอาการต่างๆ เช่น เหนื่อยล้า อ่อนเพลีย ไม่มีพลังงาน นอกจากนี้ยังอาจทำให้ผู้ป่วยมีภาวะความวิตกกังวล รู้สึกท้อแท้ ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะซึมเศร้า และยังทำให้ผู้ป่วยคิดสั้นได้

คลิกอ่านเพิ่มเติม : แนะนำ 5 วิธีการดูแลผู้ป่วยติดเตียง ต้องทำอย่างไร อุปกรณ์จำเป็นและสิ่งที่ต้องระวัง มีอะไรบ้าง ?

ผู้ป่วยติดเตียงนอนหลับยาก นอนไม่หลับตอนกลางคืน ควรดูแลอย่างไร

ผู้ป่วยติดเตียงที่มีปัญหาในการหลับ หรือนอนไม่หลับ มีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะซึมเศร้า และเกิดภาวะวิตกกังวลได้ง่าย ดังนั้นเมื่อผู้ป่วยนอนหลับยาก หรือนอนไม่หลับในตอนกลางคืน ผู้ดูแลจะต้องดูแลผู้ป่วยติดเตียงด้วยวิธี ดังต่อไปนี้

  • สร้างบรรยากาศในห้องให้เงียบที่สุด พร้อมกับบอกผู้ป่วยเบาๆ ซ้ำๆว่าเป็นเวลากลางคืน ต้องนอน
  • ดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิดในช่วงนี้ เพราะช่วงกลางคืนที่ไฟมืดสนิท ซึ่งผู้ป่วยอาจจะพลัดตกเตียงได้
  • เปิดดนตรีบำบัด เช่น เสียงน้ำไหล เสียงคลื่น ให้ผู้ป่วยฟัง เพื่อให้ผู้ป่วยเคลิบเคลิ้มและนอนหลับในที่สุด
  • ปรับอุณหภูมิห้องให้เย็นอีกเล็กน้อย เพื่อทำให้ร่างกายผู้ป่วยพร้อมต่อการนอนหลับ
  • สร้างมโนภาพให้กับผู้ป่วย พูดให้ผู้ป่วยได้นึกถึงสถานที่ที่สวยงาม สิ่งที่สวยงาม หรือเหตุการณ์ที่ทำให้มีความสุข วิธีนี้จะทำให้ผู้ป่วยนอนหลับได้ง่ายขึ้น และยังทำให้ผู้ป่วยนอนหลับได้นานขึ้น
วิธีป้องกันและแก้ปัญหาผู้ป่วยติดเตียงนอนไม่หลับ

วิธีป้องกันและแก้ปัญหาผู้ป่วยติดเตียงนอนไม่หลับ

1.นวดกดจุดฝ่าเท้าให้กับผู้ป่วย

การนวดกดจุดเป็นหนึ่งในวิธีป้องกัน และยังแก้ปัญหาให้กับผู้ป่วยติดเตียงที่นอนไม่หลับ สำหรับการนวดกดจุด จะนวดกดจุดที่ตำแหน่งหลังเท้าและข้อเท้า เพื่อบริเวณนี้มีผลต่อส่วนต่างๆของร่างกาย โดยจะทำให้ร่างกายเกิดการปรับสมดุล และทำให้ร่างกายกลับคืนสู่ภาวะปกติ

2.ให้ผู้ป่วยสัมผัสแสงพอเหมาะ

ควรให้ผู้ป่วยติดเตียงสัมผัสกับแสงสว่างที่เหมาะสม เพราะแสงมีความสำคัญในการปรับจังหวะชีวิต และมีผลต่อการนอนหลับ ดังนั้นควรให้ผู้ป่วยสัมผัสกับแสงสว่างในตอนกลางวัน และจัดให้ผู้ป่วยสัมผัสกับแสงสว่างเล็กน้อยในตอนกลางคืน เพื่อให้ร่างกายของผู้ป่วยพร้อมต่อการนอนหลับ และเพื่อให้ผู้ป่วยนอนหลับได้ลึกขึ้น

3.จัดห้องให้สบายตา

การจัดห้องให้สบายตา เป็นหนึ่งในวิธีป้องกันการนอนไม่หลับให้กับผู้ป่วย เพราะห้องมีความโปร่ง และมีความสะอาด จะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกผ่อนคลาย และทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพการนอนที่ดีขึ้น ดังนั้นจึงควรจัดห้องที่ผู้ป่วยอยู่อาศัยให้สบายตา ไม่รกรุงรัง หากมีข้าวของที่เยอะ ก็จัดเก็บให้เป็นที่เป็นทาง เป็นระเบียบและสะอาดตาที่สุด

4.ปรับเวลาการเข้านอนของผู้ป่วย

ควรปรับเวลาให้ผู้ป่วยนอนหลับตอนกลางคืนในเวลาเดิมเป็นประจำทุกวัน ประมาณ 1 สัปดาห์ เพราะว่าการนอนในช่วงเวลาเดิมๆจะทำให้ร่างกายผู้ป่วยเกิดการปรับตัว ทำให้ร่างกายผู้ป่วยเกิดความคุ้นเคย เมื่อถึงเวลานอน ผู้ป่วยก็จะง่วงนอน และนอนหลับได้อย่างง่ายดาย

ปรับอุณหภูมิห้องนอนให้ผู้ป่วยติดเตียงนอนหลับ

5.ปรับอุณหภูมิห้องนอน

ควรปรับอุณหภูมิห้องของผู้ป่วยให้อยู่ระหว่าง 17 ถึง 25 องศา เพราะว่าอุณหภูมินี้ เป็นอุณหภูมิที่เหมาะสม ทำให้ผู้ป่วยนอนหลับสบาย ถ้าใช้เครื่องฟอกอากาศเข้ามาร่วมด้วยก็จะดี เพราะเครื่องฟอกอากาศจะช่วยเพิ่มปริมาณออกซิเจนในห้องนอน ทำให้ผู้ป่วยนอนหลับได้ลึกขึ้น สบายยิ่งขึ้น

การที่ผู้ป่วยติดเตียงนอนไม่หลับ หรือหลับยาก นั้นถือเป็นปัญหาใหญ่ที่ต้องรีบทำการแก้ไข เพราะปัญหาการนอนไม่หลับ จะส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกายของผู้ป่วย ทำให้ร่างกายผู้ป่วยอ่อนแอ และยังทำให้ผู้ป่วยเกิดภาวะต่างๆ เช่น ภาวะวิตกกังวล ภาวะซึมเศร้า ดังนั้นผู้ดูแลจึงควรต้องป้องกันปัญหาการนอนไม่หลับให้กับผู้ป่วยติดเตียงตั้งแต่เนิ่นๆ ด้วยการเปิดดนตรีให้ผู้ป่วยฟังก่อนนอน ปรับอุณหภูมิห้องนอน รวมไปถึงการเลือกใช้เตียงผู้ป่วยที่มีคุณภาพ สามารถรองรับสรีระและแรงกดทับได้ดี เพื่อให้ผู้ป่วยมีสุขภาพการนอนที่ดีขึ้น

และสำหรับใครที่กำลังมองหาเตียงผู้ป่วย เพื่อใช้ดูแลผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุ สามารถสั่งซื้อผ่านทางออนไลน์ได้ที่ Modernform Health & Care เพราะเตียงผู้ป่วยไฟฟ้าของเรา มีคุณภาพดี  มีคุณสมบัติและฟังก์ชั่นการใช้งานที่หลากหลาย ที่ช่วยส่งเสริมสุขภาพการนอนหลับของผู้ป่วยให้ดีขึ้น ทำให้ผู้ป่วยนอนหลับสนิท และพักผ่อนได้อย่างเต็มที่ตลอดทั้งคืน

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมเตียงผู้ป่วย Modernform Health & Care : คลิกที่นี่

เตียงผู้ป่วย Modernform Healthcare

สามารถคลิกดูเตียงผู้ป่วย เตียงผู้สูงอายุ Modernform Healthcare แบบต่าง ๆ ได้ที่นี่ พร้อมให้คำแนะนำเกี่ยวกับการเลือกเตียงผู้ป่วยในแบบที่เหมาะสมที่สุดแบบฟรี ๆ ไม่มีค่าใช้จ่ายเพิมเติมผ่านทาง Line หรือ โทรติดต่อ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และโฆษณา

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลวส่วนบบุคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ Cookies ที่เราใช้งานได้แก่ Google Analytics และ Facebook Pixel

Save