ห้ามพลาด!! 7 สิ่งเหล่านี้ หากมี ผู้สูงอายุที่บ้านนอนติดเตียงออยู่ เมื่อมีผู้ป่วยติดเตียงที่บ้าน ดูแลอย่างไร การดูแลผู้ป่วยติดเตียงที่บ้านอย่างถูกต้องเป็นสิ่งสำคัญ การนอนป่วยติดเตียงมักเกิดกับผู้สูงอายุที่ร่างกายเสื่อมโทรมไปตามกาลเวลา หรือป่วยด้วยโรคเรื้อรัง อุบัติเหตุ ผู้ที่เข้ารับการผ่าตัด แพทย์อนุญาตให้กลับไปพักฟื้นร่างกายที่บ้านได้ ผู้ดูแลมือใหม่หลายท่านยังไม่เคยมีประสบการณ์ ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อขอคำแนะนำในการดูแลผู้ป่วยติดเตียง ป้องกันภาวะแทรกซ้อน อุบัติเหตุและทำให้ผู้ป่วยติดเตียงมีสุขอนามัยที่ดี นอกจากการดูแลผู้ป่วยอย่างถูกต้องแล้ว ต้องระวังหลายอย่าง สิ่งที่ต้องระวังมีอะไรบ้างเราไปดูกัน
7 สิ่งทีต้องระวังหากมีที่ ผู้ป่วยติดเตียงอยู่ที่บ้าน
การดูแลผู้ป่วยติดเตียงที่บ้าน มีหลายสิ่งที่ต้องระวัง โดยเฉพาะผู้ป่วยติดเตียงกลุ่มสีแดงที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ เช่น เป็นอัมพาต ไม่สามารถขยับร่างกายได้ บางรายนอนไม่รู้สึกตัวต้องได้รับการดูแลอย่างดี สำหรับสิ่งที่ต้องระวังเมื่อดูแลผู้ป่วยติดเตียงที่บ้าน มีดังนี้
เมื่อต้องดูแลผู้ป่วยติดเตียงที่บ้าน สิ่งสำคัญที่ต้องระวังคือ แผลกดทับ เนื่องจากผู้ป่วยต้องนอนเป็นระยะเวลานาน จึงเสี่ยงทำให้เกิดแผลกดทับ โดยเฉพาะบริเวณปุ่มกระดูก เช่น ศอก สะโพก สะบัก ก้นกบ เป็นต้น ควรพลิกตัวผู้ป่วยทุก 2 ชั่วโมง อย่างไรก็ตาม หากผู้ป่วยนอนบนเตียงผู้ป่วยปรับได้ ช่วยให้การพลิกตัวง่ายขึ้น
2.การสำลักอาหาร
ผู้ป่วยติดเตียงโดยเฉพาะผู้สูงอายุ มักมีภาวะกลืนลำบาก ซึ่งเป็นความผิดปกของช่องปากและคอหอย อาจมาจากโรคสมองเสื่อมหรือหลอดเลือดสมอง มีผลต่อการทานอาหารเสี่ยงต่อการสำลัก เศษอาหารเข้าไปติดหลอดลม ควรเลือกอาหารอ่อน ทานง่ายดีที่สุด
3.ความสะอาด
การดูแลผู้ป่วยติดเตียงต้องหมั่นรักษาความสะอาด ไม่ว่าจะเป็นการชำระล้างร่างกาย โดยเฉพาะผู้ป่วยติดเตียงที่ใส่สายสวนปัสสาวะ มีโอกาสติดเชื้อง่าย ผู้ดูแลต้องเปลี่ยนสายสวนทุกๆ 2-4 สัปดาห์ ทำความสะอาดสายสวนด้วยน้ำสบู่อ่อน นอกจากนั้นยังต้องดูแลสุขภาพช่องปากและการขับถ่าย รวมถึงการดูแลความสะอาดในห้องนอน เพื่อให้ผู้ป่วยมีสุขอนามัยที่ดี ป้องกันการติดเชื้อ
4.อุบัติเหตุ
การดูแลผู้ป่วยติดเตียง ผู้ดูแลควรระวังเรื่องอุบัติเหตุ เช่น พลัดตกเตียง หรืออุบัติเหตุเมื่อผู้ป่วยลงจากเตียง ผู้ป่วยติดเตียงบางราย ช่วยเหลือตนเองได้เคลื่อนไหวได้เล็กน้อยบางครั้งต้องการลงจากเตียงหรือลุกขึ้นนั่ง ในระหว่างนั้นอาจพลัดตกได้ ควรจัดหาเตียงไฟฟ้าผู้สูงอายุที่มีราวกันตกหรือสามารถปรับระดับความสูงต่ำของเตียงได้ เลือกเตียงที่เหมาะกับผู้ป่วย เพราะถ้าเตียงนอนสูงเกินไป เสี่ยงทำให้เกิดอุบัติเหตุได้เช่นกัน
5.ขาดสารอาหาร
อีกสิ่งหนึ่งที่ต้องระวังคือเรื่องอาหารการกิน ผู้ป่วยติดเตียงควรได้รับสารอาหารอย่างครบถ้วนเพราะการทานอาหารที่มีประโยชน์ ช่วยฟื้นฟูอาการของผู้ป่วยได้ ผู้ดูแลควรปรึกษาแพทย์ด้านโภชนาการว่าผู้ป่วยติดเตียงควรทานอาหารแบบไหน อาหารแบบไหน ควรหลีกเลี่ยงเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับสารอาหารที่ดีที่สุด
6.การจัดสภาพแวดล้อม
นอกจากการรักษาความสะอาดแล้วการจัดสภาพแวดล้อมที่ดี ช่วยฟื้นฟูสุขภาพร่างกายและจิตใจของผู้ป่วยติดเตียงได้ เช่น การจัดห้องนอนให้มีอากาศถ่ายเทสะดวก การตกแต่งห้องนอนเพื่อสร้างบรรยากาศที่ผ่อนคลาย แม้แต่การเลือกเตียงนอนผู้ป่วย ควรเลือกเตียงนอนที่มีดีไซน์สวยงาม ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกมีความสุขไม่หดหู่จนเกินไป เป็นต้น
7.สุขภาพจิต
การดูแลสุขภาพด้านจิตใจสำคัญไม่น้อย ผู้ดูแลหลายคนรู้สึกว่าผู้ป่วยติดเตียงเป็นภาระ ในขณะที่ผู้ป่วยติดเตียงเองก็รู้สึกว่าไม่มีคุณค่า ผู้ดูแลควรให้ความสำคัญเรื่องสุขภาพจิต ไม่ใช้คำพูดรุนแรงหรือบั่นทอนจิตใจ ควรให้กำลังใจผู้ป่วย หรือหาเวลาว่างทำกิจกรรมเล็กๆ ร่วมกัน เช่น อ่านหนังสือธรรมะให้ฟัง ดูหนังด้วยกัน เป็นต้น สำหรับผู้ดูแลที่ไม่มีเวลาทำงานหนัก ไม่สะดวกที่ต้องดูแลผู้ป่วยตลอด 24 ชั่วโมง ควรจ้างผู้เชี่ยวชาญมาดูแลแทนหรือใช้บริการดูแลผู้ป่วยติดเตียง ไม่ควรปล่อยให้ผู้ป่วยอยู่คนเดียว
การดูแลผู้ป่วยติดเตียงที่บ้านไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็ไม่ได้ยากเกินความสามารถของเรา เมื่อต้องดูแลผู้ป่วยติดเตียงที่บ้าน มีข้อควรระวังหลายอย่าง มือใหม่อาจไม่รู้ ทั้งหมดนี้จะเป็นแนวทางในการดูแลผู้ป่วยติดเตียงที่บ้านได้ เพื่อให้ผู้ดูแล ดูแลอย่างถูกต้องและดูแลด้วยความระมัดระวัง อย่างไรก็ตาม หากต้องดูแลผู้ป่วยติดเตียงที่บ้าน เตียงผู้ป่วยติดเตียง ถือว่าเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญ มีทั้งเตียงไฟฟ้าและเตียงหมุนด้วยมือให้เลือก เตียงนอนสามารถปรับท่าทางต่างๆ ได้ช่วยให้ผู้ป่วยผ่อนคลายและยังอำนวยความสะดวกให้กับผู้ดูแลด้วย
เตียงผู้ป่วย Modernform Healthcare
สามารถคลิกดูเตียงผู้ป่วย เตียงผู้สูงอายุ Modernform Healthcare แบบต่าง ๆ ได้ที่นี่ พร้อมให้คำแนะนำเกี่ยวกับการเลือกเตียงผู้ป่วยในแบบที่เหมาะสมที่สุดแบบฟรี ๆ ไม่มีค่าใช้จ่ายเพิมเติมผ่านทาง Line หรือ โทรติดต่อ