5 ปัญหาผู้ป่วยติดเตียง ที่ควรระวังเมื่อมีผู้สูงอายุที่บ้านนอนติดเตียง

ปัญหาผู้ป่วยติดเตียง

การดูแลผู้ป่วยติดเตียงหลายคนอาจจะคิดว่าเป็นเรื่องที่สามารถทำได้ง่ายๆ ซึ่งต้องบอกเลยว่าการดูแลผู้ป่วยติดเตียงนั้นเป็นเรื่องที่ควรให้ความสำคัญไม่และไม่ควรละเลยเป็นอย่างมาก เนื่องจากผู้ป่วยติดเตียงไม่สามารถขยับร่างกายของตนเอง เมื่อผู้ป่วยติดเตียงนอนอยู่บนเตียงเป็นระยะเวลานานๆ ก็อาจทำให้เกิดภาวะและอาการต่างๆที่เป็นอันตรายต่อร่างกายได้ ซึ่งบทความนี้ก็จะพาคุณไปทำความรู้จักกับ 5 ปัญหาผู้ป่วยติดเตียงที่ควรระวัง จะมีอะไรบ้าง บทความนี้มีคำตอบ

ระวัง 5 ปัญหาผู้ป่วยติดเตียง เมื่อมีผู้สูงอายุ และผู้ป่วยติดเตียงที่บ้านนอนติดเตียง

1.แผลกดทับ

สำหรับปัญหาของผู้ป่วยติดเตียงที่มักจะเกิดขึ้น เมื่อไม่ได้พลิกตัวทุกๆ 2 ชั่วโมง ก็คือการเกิดแผลกดทับ ซึ่งการเกิดแผลกดทับเกิดจากการนอนอยู่ท่าเดิมเป็นระยะเวลานาน จนผิวหนังที่รับแรงกดจากน้ำหนักตัวเป็นแผลกดทับ ซึ่งในระยะแรกจะเป็นรอยแดงช้ำ หากทิ้งไว้นานขึ้นก็จะเป็นแผลลึกและกว้างมากขึ้น อาจทำให้เกิดการติดเชื้อในกระแสเลือดได้

2.การสำลักอาหาร

ผู้ป่วยติดเตียงมักจะมีอาการสำลักอาหารด้วย เนื่องจากมีปัญหาในการกลืนหรือกล้ามเนื้ออ่อนแรง ทำให้เกิดการสำลักอาหารได้ง่าย ซึ่งเมื่ออาหารที่สำลักเข้าไปในทางเดินหายใจอาจทำให้เกิดภาวะปอดติดเชื้อตามมาด้วย ทำให้ก่อนที่จะป้อนข้าวผู้ป่วยติดเตียงควรเปลี่ยนท่าของผู้ป่วยให้อยู่ในท่านั่งก่อนเสมอ

3.เกิดภาวะสับสน

ปัญหาผู้ป่วยติดเตียงที่อาจเกิดขึ้นก็คือการที่ผู้ป่วยมีภาวะสับสนหรือสมองเสื่อม ทำให้สมองทำงานได้ไม่เหมือนกันคนปกติ ซึ่งทำให้ผู้ป่วยอาจมีพฤติกรรม อารมณ์ และความคิด รวมถึงการนอนที่เปลี่ยนไป เช่น ก้าวร้าย หงุดหงิด โมโหง่าย หลงลืม ถามเรื่องเดิมซ้ำๆ นอนไม่หลับ พูดคนเดียว หูแว่ว เห็นภาพหลอน

4.ความสะอาด

สำหรับความสะอาดของผู้ป่วยติดเตียง เป็นเรื่องที่ไม่ควรละเลย เพราะผู้ป่วยติดเตียงไม่สามารถขยับร่างกายไปเข้าห้องน้ำเองได้ ผู้ดูแลจึงควรทำความสะอาดร่างกายและการขับถ่ายเป็นประจำ เป็นการป้องกันเชื้อโรคต่างๆเข้าสู่ร่างกาย นอกจากนี้ยังรวมถึงการดูแลช่องปากและฟันด้วยเช่นกัน

5.ภาวะปอดแฟบ

ภาวะปอดแฟบ เป็นภาวะที่มักเกิดกับผู้ป่วยติดเตียง เพราะผู้ป่วยติดเตียงนั้นจะอยู่ในท่านอนเป็นส่วนใหญ่ ทำให้หายใจตื้นกว่าคนปกติ ปอดไม่ขยาย จนทำให้เกิดภาวะปอดแฟบในที่สุด ทำให้เกิดการหอบเหนื่อยได้ง่าย ดังนั้นผู้ดูแลจึงควรจัดให้ผู้ป่วยติดเตียงอยู่ในท่านั่งในช่วงกลางวัน เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะปวดแฟนนั่นเอง

จะเห็นได้ว่าการดูแลผู้ป่วยติดเตียงเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก หลายคนอาจจะคิดว่าเป็นเรื่องที่ยาก แต่หากรู้วิธีการดูแลผู้ป่วยติดเตียงและเข้าใจผู้สูงอายุติดเตียงที่ถูกต้อง ก็สามารถช่วยป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนและความเสี่ยงต่างๆได้ไม่น้อย และนอกจากนี้ก็หวังว่าบทความเกี่ยวกับ 5 ปัญหาที่พบในผู้ป่วยติดเตียงที่ควรระวังที่เราได้นำมาเสนอในบทความนี้จะสามารถเป็นประโยชน์กับผู้ที่กำลังศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยติดเตียงได้ไม่มากก็น้อย

เตียงผู้ป่วย Modernform Healthcare

สามารถคลิกดูเตียงผู้ป่วย เตียงผู้สูงอายุ Modernform Healthcare แบบต่าง ๆ ได้ที่นี่ พร้อมให้คำแนะนำเกี่ยวกับการเลือกเตียงผู้ป่วยในแบบที่เหมาะสมที่สุดแบบฟรี ๆ ไม่มีค่าใช้จ่ายเพิมเติมผ่านทาง Line หรือ โทรติดต่อ

รีวิวเตียงนอนผู้สูงอายุไฟฟ้า Volker Bed รุ่น S962-2 Vis-a-Vis
รีวิวเตียงผู้ป่วยสูงอายุไฟฟ้า Volker Bed รุ่น 5384 Ultra Low
รีวิวเตียงผู้สูงอายุแบบไฟฟ้า Volker Bed รุ่น 5384 Ultra Low
Certificate เตียงไฟฟ้าผู้สูงอายุ Volker Bed รุ่น 5384 Ultra Low

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และโฆษณา

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลวส่วนบบุคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ Cookies ที่เราใช้งานได้แก่ Google Analytics และ Facebook Pixel

Save